วันศุกร์, 29 มีนาคม 2567

ผู้ว่าฯนราธิวาส”เปิดค่ายพักพิงเพื่อการบำบัด”

ผู้ว่าฯนราธิวาสเปิดค่ายพักพิงเพื่อการบำบัด (Camp35) จังหวัดนราธิวาส รุ่นที่ 2 บูรณาการทุกภาคส่วน แก้ปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน “คืนคนดีสู่สังคม”

วันที่ 24 มีนาคม 2563 ที่ กรมทหารราบที่ 151 ค่ายกัลยาณิวัฒนา ตำบลกะลุวอ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นประธานเปิดค่ายพักพิงเพื่อการบำบัด (Camp35) จังหวัดนราธิวาส รุ่นที่ 2 โดยมี พ.อ.พิเชษฐ์ ชุติเดโช รองผบ.ฉก.นราธิวาส นายบุญช่วย หอมยามเย็น ปลัดจังหวัดนราธิวาส นายชัยเจริญ มูสิกิ้ม หัวหน้าฝ่ายอำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดนราธิวาส หัวหน้าส่วนราชการและเยาวชนชาวค่ายพักพิงเพื่อการบำบัด Camp 35 จังหวัดนราธิวาส ร่วมพิธีในครั้งนี้

ด้านนายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า นับตั้งแต่ได้ประกาศ 7 วาระ นราน่าอยู่ อย่างยั่งยืน วาระที่ 5 นรา ปลอดภัย ทุกแห่งหนคนปลอดภัย “โดยการเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน และชุมชนเมือง การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด” และได้ประชุมชี้แจงแนวทางการบำบัดรักษา และแก้ไขปัญหายาสพติด ให้ทุกภาคส่วนราชการขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่งผลการดำเนินการในภาพรวมเป็นที่น่าชื่นชมเป็นอย่างมาก

ทั้งนี้ภายใต้การนำของหัวหน้าส่วนราชการทุกส่วน ทั้งฝ่ายทหาร ตำรวจ พลเรือน และผู้นำศาสนา ที่ได้บูรณาการดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของจังหวัดนราธิวาส ตามแนวทางการบำบัดรักษาและแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งมาตรการด้านการป้องกัน ปราบปราม การบำบัดรักษา และการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติดอย่างจริงจัง ซึ่งในการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษาของจังหวัดนราธิวาส ได้นำผู้ป่วย

ยาเสพติด ระดับกลุ่มผู้ติด เข้ารับการบำบัดรักษาในระบบค่าย ที่เรียกว่า ค่ายพักพิงเพื่อการบำบัด หรือ Camp 35 ซึ่งเป็นผู้เข้ารับการบำบัดจากทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จำนวน 60 คน เข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ตามหลักสูตทางการแพทย์ จำนวน 35 วัน โดยมีนายอำเภอ เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ทหาร และเจ้าหน้าที่ซึ่งประกอบเป็นชุดปฏิบัติการร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติดประจำตำบล หรือที่เรียกว่า”Take Care Team” ปฏิบัติการกวาดล้างผู้ค้ายาเสพติดควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้พื้นที่ปลอดยาเสพติดอย่างจริงจัง
สำหรับชาวค่าย Camp 35 คือบุคคลที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เป็นที่รักและเป็นความภาคภูมิใจของพ่อ แม่ ดังนั้น การที่สมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพในครั้งนี้ ตระหนักดีว่าปัญหายาเสพติดเป็นทุกข์ของพี่น้องในพื้นที่ ที่ต้องได้รับแก้ไขเป็นอันดับแรก ซึ่งพวกเราทุกคน ณ ที่แห่งนี้ กำลังช่วยดำเนินงานแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง จึงถือว่าเป็นการให้โอกาสตนเอง ซึ่งหลงผิด หรือก้าวพลาด ไปใช้สารเสพติด มีโอกาสกลับตัวเลิกใช้สารเสพติด จะทำให้เรามีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรงเป็นคนใหม่ จะทำให้พ่อ แม่ ดีใจและมีความสุที่สุดในชีวิต ได้หลุดพ้นจากความทุกข์อีกด้วย
ทั้งนี้ตามที่รัฐบาลกำหนดนโยบายการดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ภายใต้วิสัยทัศน์ สังคมไทยเข้มแข็งและรอดพ้นภัยยาเสพติด ด้วยภูมิคุ้มกันและมาตรการลดผู้ค้า ผู้เสพ นั้น
ปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความทับซ้อนกับปัญหาความมั่นคง มีความสัมพันธ์เกื้อหนุนกัน ทำให้การแพร่ระบาดของยาเสพติดอยู่ในระดับที่รุนแรง เป็นปัญหาที่ประชาชนต้องการให้ภาครัฐแก้ไขเป็นอันดับแรก ฉะนั้นจังหวัดนราธิวาส จึงถือว่า “ยาเสพติดเป็นทุกข์ของชาวบ้าน และเป็นภารกิจสำคัญเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข”


โดยการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของจังหวัดนราธิวาส
ซึ่งได้ดำเนินการด้วยกลยุทธ์ กวาดบ้านตนเอง ตรวจหาสารสพติดเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน กลยุทธ์ เดินเข้าสู่หมู่บ้าน โดยให้ทุกอำเภอจัดตั้งชุดปฏิบัติการร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติดประจำตำบล หรือ ชุค Take Care Team ทุกตำบล ทำหน้าที่ในการสำรวจ ค้นหา ผู้เสพ ผู้ค้า ยาเสพติด จัดกิจกรรมรณรงค์ สร้างการมีส่วนร่วมในการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด และทำหน้าที่ในการติดตามช่วยเหลือ ผู้ผ่านการบำบัดรักษายาเสพติด ที่กลับสู่ชุมชน หมู่บ้าน จากทั้ง 3 ระบบ คือ ระบบสมัครใจ ระบบบังคับบำบัด และระบบต้องโทษ ไม่ให้กลับไปเสพซ้ำ และสามารถส่งเสริมอาชีพให้แก่ผู้ผ่านการบำบัด
ฟื้นฟูจากทุกระบบ โดยส่งผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูฯให้ไปทำงาน ณ บริษัทเดบโบร่าห์เซอร์วิสเซล ประเทศไทย จำกัด แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ทั้งสิ้นจำนวน 43 คน มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 15,000 -25,000 บาท โดยแยกเป็นผู้ผ่านการบำบัดฯจากค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เสพยาเสพติด ผู้ผ่านการบำบัดฯจากค่ายพักพิงเพื่อการบำบัด (Camp 35) เยาวชนกลุ่มเสี่ยง
สำหรับการจัดค่ายพักพิงเพื่อการบำบัด (Camp 35) จังหวัดนราธิวาส รุ่นที่ 2 ในวันนี้ ดำเนินการระหว่างวันที่ 6 มีนาคม -9 เมษายน 2563โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ติดยาเสพติดจากทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส จำนวน 60 คน
ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนวิทยากรด้านสาธารณสุข จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส วิทยากรฝ่ายครูปกครอง จากกรมทหารราบที่ 151ค่ายกัลยานิวัฒนา และสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ตลอดจนได้รับการสนับสนุนจากผู้นำศาสนา และประธานกรรมการอิสลามประจังหวัดนราธิวาสด้วย

ข่าว/ซาการียา ดอเลาะ จ.นราธิวาส

Loading