วันเสาร์, 27 เมษายน 2567

เดอะโอ๋”จรวจจุดผ่อนปรนชุปเปอร์มาร์เก็ต

เดอะโอ๋ !!! ตรวจจุดผ่อนปรนบริเวณซุปเปอร์มาร์เก็ต ภายในห้างสรรพสินค้าแมคโคร สาขาสระบุรี อ.เมือง จว.สระบุรี

วันนี้ 8 พ.ค.2563) เวลาประมาณ 16.00 น.ที่บริเวณซุปเปอร์มาร์เก็ต ภายในห้างสรรพสินค้าแมคโคร สาขาสระบุรี อ.เมือง จว.สระบุรี พล.ต.ต.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ รอง ผบช.ภ.1 / เอราวัณ 3 ลงพื้นที่ตรวจสถานประกอบการที่ได้รับการผ่อนปรนให้เปิดกิจการตามคำสั่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 5 และ 6 ตามคำสั่ง ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ภ.1 (ศปม.ภ.1)ที่ 1/2563 เรื่อง การแบ่งมอบหมายอำนาจหน้าที่รับผิดชอบให้รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 โดยมอบหมายให้ พล.ต.ต.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ รอง ผบช.ภ.1 เป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติของจุดตรวจควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 รับผิดชอบพื้นที่ ภ.จว.สระบุรี และ ภ.จว.ชัยนาท โดยมี พ.ต.อ.ศุภากรณ์ จันทาบุตร ผบก.ภ.จว.สระบุรี พ.ต.อ.พิศณุ วิทยาภรณ์ผกก.สภ.เมืองสระบุรีน.ส.อมรรัตน์ ทวีรัตนศิลป์ ผู้ช่วยผู้จัดการ ห้างสรรพสินค้าแมคโคร สาขาสระบุรีพร้อมด้วยข้าราชการตำรวจในสังกัดร่วมตรวจผลการตรวจร้านดำเนินตามมาตราการ Social Distancing โดยคณะผู้ตรวจได้แนะนำและตักเตือน ได้แจ้งเพื่อทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการ/ผู้ดูแล
พล.ต.ต.ธนายุตม์ ได้กล่าวกำชับถึงเรื่องการเตรียมสถานที่และอุปการณ์ป้องกันโรค 1.ให้จัดจุดบริการล้างมือด้วยสบู่,แอลกอฮอล์เจล ,น้ำยาฆ่าเชื้อ โดยให้จัดเตรียมให้สามารถให้บริการได้ทุกวัน 2.จัดให้มีการระบายอากาศที่เพียงพอ 3.จัดพื้นที่รอคิว จุดจ่ายเงิน จุดให้บริการ โดยให้ทำสัญลักษณ์เว้นระยะห่างของจุดบริการ อย่างน้อย 1 เมตร 4.ให้มีการจัดสินค้าให้เป็นระเบียบ โดยไม่ยื่นออกมานอกร้าน หรือทางเดิน จนเป็นอุปสรรคในการสัญจร และเลือกซื้อสินค้าของลูกค้า เพื่อให้มีระยะห่างระหว่างบุคคลไม่น้อยกว่า 1 เมตร 5.จัดให้มีอุปกรณ์ตรวจคัดกรองอุณหภูมิร่างกายสำหรับผู้ที่จะใช้บริการซุปเปอร์มาร์เก็ต และจัดหาอุปกรณ์ป้องกันโรค เช่น หน้ากากอนามัย ,เฟสชีล ให้แก่พนักงานทุกคน 6.จัดให้มีฉากกั้นแผนกที่ต้องใกล้ชิดกับผู้ให้บริการ เช่น จุดบริการชำระเงิน จุดประชาสัมพันธ์

ในส่วนเรื่องการเตรียมความพร้อมในการให้บริการ 1.ก่อนเปิดให้บริการทุกวัน ให้มีการตรวจคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัดสำหรับพนักงานทุกคน กรณีพบผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ให้หยุดงาน และสังเกต อาการตนเองที่บ้าน ,กรณีที่พบพนักงานบริการป่วยด้วยอาการทางเดินหายใจให้งดปฏิบัติงานจนกว่าอาการดีขึ้น 2.จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ เพื่อแจ้งมาตรการป้องกันควบคุมโรค ให้กับผู้ประกอบการ ร้านค้าย่อย และผู้ใช้บริการทราบ 3.จัดให้มีการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ใช้บริการก่อนเข้าร้าน 4.พิจารณาจัดให้มีการเหลื่อมเวลาการให้บริการ ด้วยระบบคิว เพื่อลดความแออัด รวมทั้งลด เวลาในการให้บริการให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น 5.หากชำระด้วยเงินสด ต้องไม่สัมผัสมือโดยตรง 6.พนักงานทุกคน ต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ระหว่างให้บริการ ตลอดจน รักษาระยะห่างระหว่างผู้ใช้บริการ อย่างน้อย 1 – 2 เมตร และยืนห่างจากพนักงานคนอื่นอย่างน้อย 1 – 2 เมตร 7.งดจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายที่อาจทำให้เกิดการรวมตัวของคนจำนวนมาก เช่น การจัด โปรโมชั่น นาทีทอง เพื่อลดการแออัดของผู้ใช้บริการ 8.พิจารณางดให้บริการ กรณีพบผู้ใช้บริการที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการ ป้องกันควบคุมโรค หรือมีอาการป่วยจากการคัดกรองก่อนเข้าร้านค้า 9. ให้พิจารณาวัน หรือช่วงเวลาเป็นการเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงต่อการ ติดเชื้อที่มีโอกาสป่วยรุนแรง ได้แก่ ผู้สูงอายุ เช่น กำหนดให้เฉพาะผู้สูงอายุเข้าใช้บริการได้ ในวันราชการ ตั้งแต่เวลา 07.00 – 09.00 น. เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
พล.ต.ต.ธนายุตม์ ได้กล่าวกำชับถึงเรื่องการทำความสะอาด 1.ทำความสะอาดพื้น จุดสัมผัสร่วม เช่น รถเข็นสินค้า ตะกร้าสินค้า โต๊ะ เคาท์เตอร์ เก้าอี้ ประตู ลูกบิด ปุ่มกดลิฟต์ โทรศัพท์ ไมโครโฟน ภาชนะบรรจุอาหารและสินค้า ห้องน้ำ อยู่เสมอ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดฆ่าเชื้อ 2.จัดจุดวางถังขยะชนิดมีฝาปิดเพื่อรวบรวมขยะต่างๆ มัดปากถุงให้แน่น และกำจัดขยะ มูลฝอยทุกวัน 3.หากพบว่าผู้ปฏิบัติงานในร้าน เป็นผู้ป่วยยืนยัน หรือมีข้อมูลบ่งชี้ว่าร้านอาจเป็นจุดแพร่เชื้อได้ ให้เจ้าของร้านปิดร้านตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ พร้อมทั้งทำความ สะอาดสถานที่ และดำเนินการตามประกาศของกรมควบคุมโรค

Loading