วันศุกร์, 19 เมษายน 2567

นครปฐม “ตรวจร้านค้า กำหนดมาตรการควบคุม ปัองกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19”

นครปฐม ตรวจร้านค้ากำหนดมาตรการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม มอบหมายให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร สถานีตำรวจภูธรสามควายเผือก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลมาบแค ออกตรวจเพื่อให้คำแนะนำ ในตำบลมาบแค อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม จำนวน 11 ร้าน ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ยังคงปรากฏอยู่แม้จะควบคุมไว้ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของระบบสาธารณสุขในประเทศไทย และที่สำคัญ คือความร่วมมือจากประชาชน แต่เนื่องจากโรคดังกล่าวยังคงระบาดรุนแรงอยู่ในหลายประเทศ และยังมีการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ตลอดจนการไปมาหาสู่กันข้ามจังหวัด และการไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด ซึ่งนายกรัฐมนตรี

โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 (7) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกอบกับข้อ 7 (1) ข้อ 11 ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2563 ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครปฐม จึงออกประกาศกำหนดมาตรการควบคุมการแพร่ของโรคติดต่ออันตรายในส่วนต่าง ๆ อาทิ ร้านอาหารและหรือเครื่องดื่ม ในโรงแรม ท่าอากาศยาน สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง โรงพยาบาล ร้านอาหารและหรือเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ รถเข็น หาบเร่แผงลอย ซึ่งไม่รวมถึงสถานบริการ ผับ บาร์ /ร้านค้าปลีก ค้าส่งขนาดย่อม ร้านค้าปลีก/ค้าส่งชุมชน ตลาด ตลาดน้ำ และตลาดนัด

 

จังหวัดนครปฐม จึงออกประกาศกำหนดมาตรการควบคุม และตรวจติดตามให้คำแนะนำเพื่อให้ร้านค้าปลีก ตลาดนัด ตลาดน้ำ และสถานประกอบการ สถานที่ต่าง ๆ ที่ออกในประกาศดังกล่าวนี้ ได้ปฏิบัติตามแนวทางประกาศจังหวัดนครปฐมอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยในความเสี่ยงอันเกิดจากโรคระบาด โควิด -19 ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม มาตรการข้างต้นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน และ ความร่วมมือของประชาชนและจิตสำนึกของทุกคนในจังหวัดในการรับผิดชอบต่อส่วนรวม โดยไม่พาตนเอง ไปเสี่ยงหรือรับเชื้อและปฏิบัติตามมาตรการควบคุมหลัก ซึ่งจะส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ระบบ

การแพทย์และสาธารณสุข ให้สามารถดูแลและรักษาผู้ป่วยให้หายได้ทันท่วงที ลดความตึงเครียดของบุคลากรทางการแพทย์ และผู้คนรอบข้างได้

​​​​​​​​นางสาวชนิดา พรหมผลิน  ผู้สื่อข่าวนิวส์รีพอร์ต รายงาน
​​​​​​​​

Loading