นครพนม”ยายวัย 70 ปีโผเข้ากอดกรรมาธิการช่วยทวงที่ดิน มรดกคืน”

นครพนม
ยายวัย 70 ปี โผล่กราบกรรมาธิการช่วยทวงที่ดิน มรดกถูกฮุบ คืนก่อนตาย
ส.ส.มนพร ดึงกรรมาธิการ นำร่องลุยแก้ปัญหาที่ดินทำกิน ซับน้ำตาเกษตรกร

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2563 ที่ห้องประชุมชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดนครพนม นางมนพร เจริญศรี ส.ส.หญิงแกร่ง พรรคเพื่อไทย เขต 2 นครพนม พร้อมด้วย นายฉลาด ขามช่วง ส.ส.พรรคเพื่อไทย จ.ร้อยเอ็ด รองประธาน คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาที่ดินและการออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน สภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานคณะทำงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน พร้อมด้วย นายพีระเพชร ศิริกุล รองประธาน นางบุญรื่น ศรีธเนศ ประธานที่ปรึกษา และคณะ ได้เดินทางมาลงพื้นที่ ร่วมประชุม กับ นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ตลอดจนหน่วยงานเกี่ยวข้อง ในส่วนของการดูแลปัญหาที่ดินทำกินของ ชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อรับทราบปัญหาจากชาวบ้าน ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ ประเด็นปัญหาข้อพิพาทที่ดินทำกิน ระหว่างประชาชนกับรัฐ รวมถึงปัญหาการบุกรุกที่ดิน ปัญหาการออกเอกสารสิทธิ์ เพื่อนำไปเสนอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาจริงจัง ให้ประชาชนได้รับสิทธิประโยชน์ ตามกฎหมาย

โดยการประชุมครั้งนี้ได้มีตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาที่ดินทำกิน ในพื้นที่ ต.หนองญาติ อ.เมือง จ.นครพนม รวมถึง พื้นที่ อ.ปลาปาก และ พื้นที่ ต.บ้านผึ้ง อ.เมือง จ.นครพนม ซึ่งได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาการออกรังวัดโฉนดที่ดินของภาครัฐ ทับซ้อนที่ดินทำกิน แต่ยังไม่มีหน่วยงานเข้าไปดูแลแก้ไข พร้อมเรียกร้องให้ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาที่ดินและการออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน เร่งรัดหน่วยงานเกี่ยวข้อง รวมถึงรัฐบาลมาดำเนินการแก้ไข นอกจากนี้ยังได้ลงพื้นที่ รับทราบปัญหาความเดือดร้อน จากประชาชน ในพื้นที่ ต.รามราช อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม กว่า 1,000 ราย ที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินทำกินได้ ซึ่งเปิดโอกาสให้ชาวบ้านที่เดือดร้อน ยื่นคำร้องทุกข์ เพื่อรวบรวมหลักฐาน นำไปเสนอรัฐบาล ทำการแก้ไข

ขณะเดียวกันในช่วงเสร็จการประชุมที่ศาลกลางจังหวัดนครพนม ได้มี นางดวงตา เข็มพรมรี อายุ 70 ปี ชาวบ้านนาโพธิ์ ต.บ้านผึ้ง อ.เมือง จ.นครพนม นำเอกสารเข้าร้องทุกข์ก้มกราบขอความช่วยเหลือ เนื่องจาก ที่ดินมรดกทำกิน ประมาณ 4 ไร่ ที่ครอบครองมาตั้งแต่ปี 2497 ถูกกรมชลประทานออกรังวัดทับที่ดินทำกิน เพื่อก่อสร้างพัฒนาแหล่งน้ำ แต่ไม่ได้รับการดูแลเยียวยาช่วยเหลือ ต่อสู้มาตั้งแต่ ปู่ย่า ตายาย ประมาณปี พ.ศ. 2500 ถึงรุ่นลูกหลาน ยังไม่ได้รับการแก้ไข ทั้งที่เคยมีเอกสารการครอบครองมาแต่ปี 2497 โดยเรียกร้องให้ช่วยเหลือเยียวยา ก่อนตาย

ทั้งนี้ นางมนพร เจริญศรี ส.ส. พรรคเพื่อไทย เขต 2 นครพนม ระบุว่า การนำคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาที่ดินและการออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่ครั้งนี้ เพราะได้รับทราบความเดือดร้อนชาวนคพนม มานาน แต่การแก้ไขจะต้องเป็นระดับรัฐบาล โดยวันนี้นำกรรมมาธิการมารับทราบปัญหา ลงพื้นที่ด้วยตัวเอง เพื่อจะรวบรวมปัญหานำเสนอต่อรัฐบาลแก้ไขต่อไป ซึ่งทางคณะกรรมาธิการ ได้ชี้แจงให้ประชาชนในพื้นที่ จ.นครพนม ที่เดือดร้อนร้องเรียน ให้ข้อมูลผ่าน ส.ส.ในเขตพื้นที่ เพื่อรวบรวมเสนอปัญหา อย่างไรก็ตามตนจะเดินหน้าขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินเต็มที่ให้พื้นที่ เขต 2 นครพนม นำร่องเป็นโมเดลแก้ปัญหาที่ดินทำกิน และจะหารือประสาน ส.ส.ทั้ง 4 เขต ในพื้นที่ จ.นครพนม ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้าน หรือรัฐบาล ช่วยกันผลักดันแก้ไข เพราะมีปัญหามานาน แต่ล่าช้า ด้วยปัญหาทางการเมือง รวมถึงประชาชนเข้าไม่ถึงหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ

ส่วน นายฉลาด ขามช่วง ส.ส.พรรคเพื่อไทย จ.ร้อยเอ็ด รองประธาน คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาที่ดินและการออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน สภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานคณะทำงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เปิดเผยว่า สำหรับวันนี้ได้ร่วมกับ คณะ ส.ส. ตลอดจนกรรมาธิการ ลงพื้นที่ จ.นครพนม เพื่อติดตามรับทราบปัญหาที่ดินทำกิน ซึ่งได้ลงพื้นที่หลายจังหวัด เป็นการลงพื้นที่รับทราบปัญหาจากชาวบ้าน เนื่องจากปัจจุบันปัญหาที่ดินทำกิน ยังไม่ได้รับการแก้ไขจริง จัง จึงต้องการให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขเร่งด่วน เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวประชาชน รวมถึง จ.นครพนม ยังพบว่ามีปัญหาข้อพิพาทที่ดินทำกิน อีกจำนวนมาก ทั้งที่ทับซ้อน การออกรังวัดทับซ้อนระหว่างรัฐ กับประชาชน รวมถึงปัยหาเอกสารสิทธิ์ ที่ดินทำกิน ที่ไม่สามารถออกได้ สิ่งเหล่านี้ยังเป็นบ้านหายืดเยื้อมานาน ในส่วนของ จ.นครพนม ได้หารือกับ ส.ส.ทั้ง 4 เขต นำร่องแก้ไขปัญหาเร่งด่วน พร้อมมอบหมายให้ทางจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ประสานหน่วยงานเข้าไปดูแลแก้ไข และแจ้งให้ประชารชนนำเสนอปัญหากับ ส.ส.ในพื้นที่โดยตรง ขณะนี้กรรมาธิการ กำลังผลักดันให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขจริงจังทั้งเรื่องระเบียบข้อกฎหมาย เพราะปัญหาที่ผ่านมา สำคัญที่สุด คือหน่วยงานที่ดูแล ที่ดิน ทั้ง ที่ดิน สปก. ชลประทาน กรมธนารักษ์ปัญหาเรื่องการใช้แผนที่สำรวจ มีอัตราส่วนที่ไม่ตรงกัน ทำให้การสำรวจรังวัดคลาดเคลื่อน เกิดข้อพิพาทกับประชาชน ผู้ครอบครองพื้นที่ มีปัญหาที่ดินทับซ้อน ไปจนถึงอำนาจในการดูแล เรื่องที่ดิน ไม่มีการกระจายอำนาจ ทำให้เกิดความล่าช้าตามมา วิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับการแก้ไข รัฐบาลจะต้องเอาจริง ซึ่งตนในฐานะดูแลพื้นที่อีสาน จะต้องเดินหน้าเต็มที่ในการเร่งให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไข ช่วยเหลือประชาชน โดยเร็วที่สุด เพราะบางรายต่อสู้มา 50 -60 ปี ค่อนชีวิต ยังไม่ได้รับการแก้ไข

เทพพนม. รายงาน

Loading