เปิดตัว”พรรคไทยรักกัน”

09 ส.ค. 2020
43

นครปฐม พรรคไทยรักกัน” THC.P โทยามพัฒนาศรัทธาสามัคคี 2/2563

 

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2563 ณ . ห้องคอนเวนชั่นอาคารศูนย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน.
ดร. พีระพงษ์ ไพรินทร์ กัวหน้าพรรไทยรักกัน จัดประชุมใหญ่พรรคการเมือง และรับรองชื่อ“ พรรคไทยรักกัน “ชื่อย่อ“ ทรก” หรือ“ THC.p” รวมทั้งภาพเครื่องหมายพรรคคำประกาศอุดมการณ์ทางการเมืองนโยบายพรรคข้อบังคับพรรคแล้วมีมติโดยการลงคะแนนลับให้ดร. พีระพงษ์ไพรินทร์เป็นหัวหน้าพรรคไทยรักกันซึ่งมีกรรมการบริหารพรรคจำนวน 15 คนมีแกนนำพรรคประกอบด้วยดร. บุญเลิศไพรินทร์อดีตสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดร. สุเทพสุวรรณเกตุผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรนายบัณฑูรนิยมาภา (ลุงตู้) แกนนำจิตวิญญาณเครือข่ายกัญชาไทยเป็นต้นเราทุกคนได้ดื่มน้ำสาบานด้วยชีวิตร่วมกันในพิธีกรรมดื่มน้ำสัจจะว่าเราจะซื่อสัตย์ไม่คิดคดทรยศต่อนโยบาย“ เสรีกัญชา” ด้วยหวังให้เป็นพืชเศรษฐกิจนำการพัฒนาประเทศหวังให้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติหมดสิ้นไปและหวังให้ปากท้องของผู้คนเต็มอิ่มมีความสุขสงบตราบนานเท่านานด้วยยุทธศาสตร์ 4 ปี 3 ป. กล่าวคือ 4 ปีเราจะปลดหนี้ประเทศปลดหนี้ครัวเรือนโดยการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมในการจ้างงานสร้างรายได้ภาคอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศและทำให้ประชาชนปลอดจากโรคมีสุขภาพที่แข็งแรงเพื่อลดภาระรายจ่ายการสาธารณสุขและสร้างให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตยาต้านโรคร้ายของโลกนอกจากนโยบายเสรีกัญชาแล้วเรายังนำเสนอนโยบายด้านการเมืองนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดินนโยบายด้านเศรษฐกิจนโยบายด้านสังคมนโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างเป็นรูปธรรมไม่เลื่อนลอยไม่ขายฝันพรรคไทยรักกันขอให้คำมั่นสัญญากับประชาชนทั้งประเทศว่าเราจะไม่ทำงานการเมืองแบบน้ำเน่าเราจะไม่ยอมจมปรักอยู่กับสิ่งสกปรกและอำนาจโสมมทางการเมือง แต่เราจะใช้ปรัชญาของพรรคไทยรักกันที่ว่า“ พัฒนาศรัทธาสามัคคี” ตลอดไปพรรคไทยรักกันเกิดจากการรวมตัวของคนส่วนใหญ่ที่เคยถูกนักการเมืองหลอกใช้ตามนโยบายกัญชา

ที่ไม่เสร็จริงเราจึงไม่มีพื้นฐานความเป็นนักการเมืองและไม่ประสงค์ที่จะเข้ามากอบโกยผลประโยชน์มหาศาลของชาติจากกัญชาการรวมตัวของอดีตเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายเกี่ยวกับการเมืองผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญและผู้สัมผัสที่มีส่วนร่วมกับกัญชาทุกคนถูกหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวจนเป็นเสมือนชีวิตจิตใจร่างกายและสมองเดียวกันที่ต้องการเพียงเพื่อปลดกัญชาออกจากคุกที่ถูกขังถูกจองจำมานานกว่า 50 ปีหาก แต่มีผู้ถามว่านโยบาย“ เสรีกัญชา “กับ“ กัญชาเสรี” ต่างกันอย่างไรพรรคไทยรักกันขอเรียนว่าประเด็นที่ 1. “ เสรีกัญชา “พรรคไทยรักกันต้องการเสนอแก้ไขกฎหมายปลดกัญชาออกยาเสพติดเพื่อให้กัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจพืชทางการแพทย์พืชครัวเรือนที่ประชาชนเข้าถึงได้อย่างเสรีแท้จริงกัญชาเสรีไม่แก้ไขกฎหมายไม่ปลดกัญชาออกจากยาเสพติดทำให้มีข้อ จำกัด ในการเป็นพืชเศรษฐกิจทั้งทางด้านการผลิตเงินทุนและราคาขายมีข้อ จำกัด การเป็นพืชทางการแพทย์มีข้อ จำกัด การเป็นพืชครัวเรือนประชาชนขาดเสรีภาพไม่สามารถใช้สิทธิในการเข้าถึงกัญชาได้อีกทั้งแพทย์แผนไทยยังไม่มีมาตรฐานการรักษาผู้ป่วยแพทย์แผนปัจจุบันส่วนใหญ่ไม่นิยมสั่งใช้กัญชาเพื่อการรักษาผู้ป่วยความเสมอภาคและเท่าเทียมกันจึงไม่เกิดขึ้น เสรีกัญชา” พรรคไทยรักกันต้องการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกัญชาทุกมิติของประเทศเพื่อบูรณาการกฎหมาย, การใช้อำนาจหน้าที่การให้บริการสาธารณสุขให้มีเอกภาพเป็นไปในทิศทางเดียวกันกัญชาเสรีการบริหารของหน่วยงานรัฐต่างคนต่างทำไม่เป็นระบบไม่มียุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการปัญหากัญชาร่วมกันประเด็นที่ 3. “ เสรีกัญชา “พรรคไทยรักกันจะมุ่งเน้นการปลูกกัญชาในทุกระดับอย่างเสรีเพื่อให้เป็นพืชเศรษฐกิจของชาติที่แท้จริงโดยมีพื้นที่เป้าหมายในการปลูกไม่น้อยกว่า 5% ของพื้นที่ทั้งหมดภายในประเทศซึ่งรัฐจะบริหารจัดการด้านการตลาดราคาในรูปแบบรัฐต่อรัฐเพื่อป้องกันมิให้มีกลุ่มนายทุนหรือนักการเมืองมาแสวงหาผลประโยชน์อันจะเป็นการสร้างให้เกิดรายได้และปลดเปลื้องภาระหนี้ของประเทศภายใน 4 ปีกัญชาเสรีเน้นการปลูกกัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจเฉพาะกลุ่มหรือบุคคลกับความร่วมมือของ บริษัท เอกชนโดยรัฐเป็นเพียงคนกลางจึงเป็นการสร้างกำไรมหาศาลให้กับกลุ่มคนบางกลุ่มมากกว่า

 

จะปลดเปลื้องภาระหนี้สินของประเทศนโยบายพรรคไทยรักกันจึงนำเสนอแนวคิดเดียวคือต้อง “เสรีกัญชา” เท่านั้นไม่ใช่ “กัญชาเสรี” ตามแนวทางของนักการเมืองในปัจจุบันทั้งนี้ก็เพื่อพรรคไทยรักกันจะต้องทำให้เกิด “เสรีกัญชา” ตามความหมายที่แท้จริงของยุทธศาสตร์ 4 ปี 3 ป. ที่ว่า 4 ปีปลดหนี้ประเทศ (เป็นพืชเศรษฐกิจที่จะปลดหนี้ประเทศได้) 4 ปีปลดหนี้ครัวเรือน (เป็นพืชทางการแพทย์ที่จะทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาทั้งแพทย์แผนไทยและแผนปัจจุบันได้อย่างเสรีอันจะทำให้ปลดหนี้ครัวเรือนได้) 4 ปีปลอดโรคสุขภาพแข็งแรง (เป็นพืชครัวเรือนที่จะทำให้ประชาชนทุกคนปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บอันจะเป็นการรักษาสุขภาพที่ดีได้) ต่อข้อถามที่ว่ารัฐบาลจะเสนอร่างแก้ไขพระราชบัญญัติที่ผ่านคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 63 ฉบับนี้หรือไม่หากไม่มีกระแสการจัดตั้งพรรคไทยรักกัน? ตอบข้อถามนี้ว่า: …. ไม่ … เพราะเมื่อพิจารณาจากเหตุผลตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน“ กัญชา “ก็ยังคงถูกขังคุกและถือเป็น“ ยาเสพติด” ทั้งที่ชาวโลกทราบกันดีแล้วว่ากัญชามีคุณมหาศาลและเป็น“ ยารักษาโรค “การเสนอแก้ไขกฎหมายของรัฐบาลเช่นนี้ย่อมจะนำมาซึ่งความล้มเหลวและความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างร้ายแรงกล่าวคือประเด็นที่ 1: เพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าถึงการรักษาพยาบาลให้กับประชาชนที่ต้องการใช้กัญชาเพื่อการรักษาโรคโดยอนุญาตให้ผู้ป่วยที่ได้รับการรับรองจากผู้ประกอบวิชาชีพปลูกกัญชาเองรักษาตนเองได้ความเห็นแย้งประเด็นที่ 1: ปัจจุบันมีอัตราการตายของผู้ป่วยมะเร็งในไทยเฉลี่ย 216 คนต่อวันหรือ 9 คนต่อชั่วโมงนับ แต่รัฐบาลชุดนี้เข้าบริหารประเทศมาจนถึงวันนี้มีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งประมาณ 80,000 คนต่อปีอีกทั้งจำนวนแพทย์แผนปัจจุบัน 56,400 คนส่วนใหญ่จะไม่รับรองให้ผู้ป่วยใช้กัญชาในการรักษาโรคมะเร็งเพราะไม่เชื่อในวิธีการรักษาผู้ป่วยมะเร็งด้วยกัญชาซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไปอีกไม่ถึง 10 ปีประเทศไทยจะต้องนำเข้ายาคีโมมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 140,000 ล้านบาทต่อปีดังนั้นการเสนอแก้กฎหมายของรัฐบาลในลักษณะนี้จึงเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ป่วยจะสามารถเข้าถึงการรักษาจนปลูกเองหรือรักษาตัวเองด้วยกัญชาได้เพราะแพทย์แผนปัจจุบันส่วนใหญ่ยังคงต้องการใช้ยาคีโมรักษาต่อไป

พรรคไทยรักกัน “จึงมีข้อสงสัยว่าการไม่ปลดกัญชาออกจากพรบ. ยาเสพติดทั้งที่กัญชาเป็นยาที่รักษาโรคได้ถึง 300 โรคจะเป็นการสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยและกำไรมหาศาลให้กับ บริษัท ผู้ผลิตยารวมทั้งผู้หนึ่งผู้ใดหรือกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดในการนำยาคีโมเข้ามาขายภายในประเทศอย่างไรหรือไม่? หากแพทย์แผนไทยเป็นผู้รับรองให้ผู้ป่วยปลูกเองได้รักษาเองได้ทั้งที่กัญชาก็ยังคงเป็นยาเสพติดอยู่ประชาชนทั้งประเทศก็ยังไม่มีเสรีภาพในการเข้าถึงกัญชาเช่นเดิมการอนุญาตให้เฉพาะผู้ป่วยปลูกกัญชาเองได้ทั้งที่มีปัญหาสุขภาพตนปัญหาเงินทุนผู้ป่วยย่อมจำเป็นต้องจ้างวานผู้อื่นทำการปลูกแทนตน“ พรรคไทยรักกัน” จึงมีข้อสงสัยว่าผู้รับจ้างวานผลิตจะต้องเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายในการผลิตยาเสพติดหรือไม่รัฐบาลจะมีมาตรการทางกฎหมายควบคุมการปลูกตามความจำเป็นที่ผู้ป่วยต้องใช้ได้อย่างไรจึงจะไม่เป็นการผลิตสารเสพติดเพื่อการจำหน่ายรวมทั้งการอนุญาตให้ แต่เฉพาะผู้ป่วยหากบุคคลในครัวเรือนนำกัญชาไปใช้ในการบริโภคเพื่อรักษายาสุขภาพตนยังคงต้องถือเป็นการกระทำผิดกฎหมายในฐานะผู้ใช้และครอบครองยาเสพติดหรือไม่และเจ้าหน้าที่รัฐจะสามารถจับกุมผู้กระทำผิดให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกันได้อย่างไร? ดังนั้นการแก้ไขกฎหมายของรัฐบาลในลักษณะเช่นนี้ยิ่งจะทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศใช้ชีวิตด้วยความไม่สงบสุขมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมวิธีเดียวที่รัฐบาลจะดำเนินนโยบายนี้ได้สำเร็จก็คือต้องแก้ไขพรบ. ยาเสพติดเพื่อปลดกัญชาออกจากการเป็นสารเสพติดประเภท 5 เสียก่อนนั่นเองประเด็นที่ 2: พัฒนาองค์ความรู้และและการต่อยอดกัญชาทางการแพทย์แผนไทยหมอพื้นบ้านปลูกกัญชาเองปรุงยากัญชาให้ผู้ป่วยได้ความเห็นแย้งประเด็นที่ 2: ปัจจุบันยังไม่เคยมีการกำหนดมาตรฐานของกรมแพทย์แผนไทยในการปลูกกัญชาเพื่อใช้เป็นยารักษาโรคการจะต่อยอดภูมิปัญญาให้แพทย์แผนไทยหมอพื้นบ้านปลูกกัญชาเองและปรุงยากัญชาให้ผู้ป่วยก็ยังคงต้องติดกับดักการควบคุมมาตรฐานตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยมีคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานในการนำกัญชาไปใช้เพื่อการเป็นยารักษาโรคทั้งนี้คณะกรรมการฯ ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยผู้ปฏิบัติงานในองค์การอาหารและยาที่มีความผูกพันกับการใช้ยาเคมีเพื่อการรักษาโรคมายาวนานรวมทั้งแพทย์แผนปัจจุบันส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นด้วยกับการนำกัญชามาใช้ในการรักษาโรคแทบทั้งสิ้นเนื่องจากเห็นว่า“ กัญชา” คือ“ ยาเสพติด ”

พรรคไทยรักกัน” จึงมีข้อสงสัยว่ากรณีที่แพทย์แผนปัจจุบันส่วนใหญ่ไม่รับรองผู้ป่วยให้ใช้กัญชาเพื่อการรักษาโรคโดยรัฐบาลต้องการต่อยอดองค์ความรู้ให้แพทย์แผนไทยหมอพื้นบ้านปลูกกัญชาเองปรุงยากัญชาให้ผู้ป่วยภายใต้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขที่ยัง จำกัด สิทธิเสรีภาพของผู้คนในการรักษาโรคด้วยกัญชาหากเกิดกรณีผิดพลาดจนทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตแพทย์แผนไทยหรือหมอพื้นบ้านจะต้องตกเป็นผู้ต้องหาหรือไม่และจะเป็นการโยนบาปนี้ไปให้แพทย์แผนไทยหรือหมอพื้นบ้านอย่างไรหรือไม่? ดังนั้นการแก้ไขกฎหมายของรัฐบาลในลักษณะนี้ย่อมก่อให้เกิดอันตรายอย่างยิ่งต่อผู้ป่วยโดยรวมมากกว่าที่จะเป็นประโยชน์ในการต่อยอดภูมิปัญญาทางการแพทย์เว้นแต่รัฐบาลจะปลดกัญชาออกจากการเป็นยาเสพติดเสียก่อนเช่นกันประเด็นที่ 3: การอนุญาตให้เกษตรกรปลูกกัญชาเองและร่วมมือกับผู้ผลิตยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรเอกชนตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการความคุมยาเสพติดให้โทษสามารถให้ใบอนุญาตผลิตนำเข้าส่งออกจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองยาเสพติดให้โทษประเภท 5 หรือกัญชาอันจะเป็นการส่งเสริมการส่งออกไปขายในต่างประเทศได้ความเห็นแย้งประเด็นที่ 3: หากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลในครั้งนี้เป็นไปเพื่อการส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เกิดจากความจริงใจและความบริสุทธิ์ใจไม่มีเจตนาแสวงหาประโยชน์ใด ๆ จากทรัพย์สมบัติของแผ่นดินที่มีมูลค่ามหาศาลยิ่งกว่าทองคำเหตุใดรัฐบาลจึงยังไม่ยอมปลดกัญชาออกจากการเป็นสารเสพติดเพื่อให้เกิดการแข่งขันทางการค้ากัญชาได้เสรีอย่างแท้จริง“ พรรคไทยรักกัน “จึงขอถามรัฐบาลว่าทุกวันนี้คนไทยที่ปลูกกัญชาถูกจับเข้าคุกด้วยมือของคนไทยด้วยกันเองแทบทุกวันทั้งที่กัญชาได้รับการรับรองจาก 67 ประเทศทั่วโลกว่าเป็น“ ยาฯ มิใช่“ ยาเสพติด” ซึ่งกัญชาไทยก็เป็นสายพันธ์ที่ดีที่สุดในโลกเหตุใดจึงต้องถูก จำกัด สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคเสมือนหนึ่งคนไทยทั้งประเทศมิได้เป็นเจ้าของทรัพยากร“ กัญชา “ที่คนไทยทุกคนต้องใช้และได้ประโยชน์สูงสุดร่วมกัน“ พรรคไทยรักกัน” ขอถามรัฐบาลต่อไปว่าการให้เกษตรกรผลิตยากัญชาร่วมกับ บริษัท เอกชนเกษตรกรจะได้รับผลตอบแทนเท่าไหร่และเกษตรกรจะตกเป็นเครื่องมือของ บริษัท เอกชนใช่หรือไม่ประเทศชาติจะได้รับอะไรกลับคืนมาบ้างหรือผลประโยชน์จากการส่งกัญชาออกไปขายในต่างประเทศที่เป็นเงินจำนวนมหาศาลถึงขั้นปลดหนี้ประเทศได้ปลดหนี้ครัวเรือนได้จะไปเข้ากระเป๋าใครและหากมีการปลูกกัญชาเกินจำนวนที่ได้รับอนุญาตและเกษตรกรอาจถูกครอบงำด้วยอำนาจทุนการกระทำเช่นนี้จะถือเป็นการแสวงหาประโยชน์ทับซ้อนเชิงนโยบายอย่างไรหรือไม่? หากมีผู้ที่ต้องชำระภาษีในการทำการค้าขายกัญชารัฐบาลควรต้องมีคำตอบเสียก่อนว่าการที่“ กัญชาหางกระรอก “ของไทยซึ่งเป็นสายพันธ์ที่ดีที่สุดและแพงที่สุดในโลกจะได้รับผลตอบแทนทางการค้าในมูลค่าทางการตลาดเมื่อเทียบเคียงกับราคาซื้อขายกัญชาในตลาดต่างประเทศอย่างไรหรือไม่? ปัจจุบันประเทศทั่วโลกต่างไปจดสิทธิบัตรสายพันธ์กัญชาที่ค้นพบมากมายถึง 45,000 สายพันธุ์หากรัฐบาลดำเนินนโยบายล่าช้าไปอีกด้วย

 

ทีมข่าว/นครปฐม

 

Loading