วันอังคาร, 16 เมษายน 2567

กฟผ.เขื่อนวชิราลงกรณ”ตรวจสอบสภาพนำ้

กาญจนบุรี กฟผ. เขื่อนวชิราลงกรณนำส่วนราชการที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่อ่างเก็บน้ำตรวจสอบสภาพน้ำ พบน้ำใสขึ้นแล้วภายหลังจากสภาวะน้ำขุ่นและมีกลิ่น สาเหตุจากการพลิกกลับของชั้นน้ำเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงประกอบกับสภาพน้ำในอ่างมีปริมาณน้อยกว่าปกติในรอบ 5 ปี

 

จากกรณีประชาชนในพื้นที่ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณท้ายน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ กฟผ. พบสภาพน้ำในแม่น้ำขุ่นและมีกลิ่น และแจ้งสอบถามมาที่เขื่อนวชิราลงกรณนั้น ผู้บริหารเขื่อนวชิราลงกรณได้ลงพื้นที่ตรวจสอบและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เบื้องต้นได้ชี้แจ้งให้ข้อมูลกับผู้ใช้น้ำท้ายเขื่อนถึงสาเหตุว่าเกิดจากสภาพอากาศหนาวเนื่องด้วยอุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว ปริมาณน้ำในอ่างที่น้อยกว่าปกติ และมีลมกรรโชกแรง ทำให้เกิดปรากฏการณ์การพลิกกลับของชั้นน้ำ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติช่วงสั้นๆ และจะกลับคืนสู่สภาพปกติ อย่างไรก็ตาม

วันนี้ 17 ม.ค. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอมร แก่นสารี ผู้อำนวยการเขื่อนวชิราลงกรณ พร้อมด้วย ดร.รวมทรัพย์ คะเนะดะ ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 8 (ราชบุรี) กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างน้ำบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ ซึ่งจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ต่อมานายเนรมิต เหลืองอร่ามฟ้า ปลัดอาวุโส ทำการแทนนายอำเภอทองผาภูมิ นายประเทศ บุญยงค์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลทองผาภูมิ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารเขื่อนวชิราลงกรณได้ลงเรือตรวจสอบสถานการณ์ในบริเวณอ่างเก็บน้ำ พบว่าสภาพน้ำค่อนข้างใส คาดว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติใน 1-2 วันนี้

 

ผู้อำนวยการเขื่อนวชิราลงกรณ กล่าวว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากเขื่อนมีระดับน้ำและปริมาณน้ำในอ่างน้อย เมื่อวันที่ 13 มกราคม ที่ผ่านมา ระดับน้ำอยู่ที่ 141.79 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) มีปริมาตรน้ำเขื่อน 4,570 ล้านลูกบาศก์เมตร (ล.ลบ.ม.) หรือ ร้อยละ 52 ของความจุอ่าง ซึ่งต่ำสุดในรอบ 5 ปี และประกอบกับเป็นช่วงเวลาที่อุณหภูมิในพื้นที่ อ. ทองผาภูมิมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยต่ำสุดอยู่ที่ 13.5 องศาเซลเซียล ซึ่งทัั้งสองปัจจัยที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์การพลิกกลับของชั้นน้ำ คือ การที่ในฤดูหนาว บริเวณน้ำชั้นบนและผิวน้ำมีอุณหภูมิต่ำลง น้ำด้านบนจะมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการจมลงด้านล่างของอ่าง ซึ่งจะไปทำให้ชั้นน้ำก้นอ่างพลิกกลับและลอยขึ้นด้านบนแทน การพลิกตัวของน้ำก้นอ่างจะนำพาตะกอนที่ทับถมอยู่ด้านล่างขึ้นมาบนผิวน้ำ ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ

ทีมข่าวภาคตะวันตก ปรีชา / กาญจนบุรี

Loading