วันศุกร์, 29 มีนาคม 2567

ผู้ว่าฯสระแก้ว”นำหัวหน้าส่วนราชการ เนื่องในวันมาฆบูชา

ผู้ว่าฯ นำหัวหน้าส่วนราชการร่วม ” กิจกรรมเนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา ” วัดสระแก้วพระอารามหลวง

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 นายเกียรติศักดิ์ จันทรา ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว นางวริฐา จันทรา นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสระแก้ว ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสระแก้ว นำหัวหน้าส่วนราชการ เช่น นายธีระชัย ลิ้มประสิทธิศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว นายวัลลภ ประวัติวงษ์ ปลัดจังหวัดสระแก้ว พ.อ.อภิชัย จูสนิท รองเสธ.กองกำลังบูรพา พ.ต.อ.จิราวัฒน์ ศรีพัฒนสิทธิกร ผกก.สภ.เมืองสระแก้ว นางสุวิภา ปุณณะเวช วัฒนธรรมจังหวัดสระแก้ว นายอัครนันท์ นนทา ผอ.สำนักพุทธศาสนาจังหวัดสระแก้ว พร้อมพี่น้องพุทธศาสนิกชนชาวสระแก้ว ร่วมทำบุญตักบาตร เนื่องในวันมาฆบูชา ประจำปี 2564 ณ วัดสระแก้ว พระอารามหลวง

โดยมีพระครูศรีรัตน์สรกิจ เจ้าคณะอำเภอเขาฉกรรจ์ รักษาการเจ้าอาวาสวัดสระแก้ว พระอารามหลวง เป็นประธานสงฆ์ และพระสงฆ์ในพระอารามหลวง

ด้วยจังหวัดสระแก้วโดยสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสระแก้ว กำหนดจัดกิจกรรมงานสัปดาห์ส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา ประจำปี 2564 ระหว่างวันที่ 23 – 27 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้ร่วมกันน้อมระลึกถึงวันสำคัญ จึงได้จัดกิจกรรมในวันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564

ความหมายประวัติและความเป็นมา ” คำว่ามาฆบูชา ย่อมาจาก มาฆปุณณมีบูชา หรือมาฆปุรณมีบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญ เดือน 3 มาฆะ มาจากคำว่า มฆะ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 เป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงวางรากฐานพระพุทธศาสนา
คือเป็นวันที่พระพุทธองค์ประธานโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมพระสาวกซึ่งประกอบด้วยองค์ 4 เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต แล้วส่งพระสงฆ์สาวกเหล่านั้น ไปประกาศพระศาสนาคือสอนศีลธรรมแก่ประชาชนตามแว่นแคว้นต่างๆ

ขอให้ความหมายคำว่า ” จาตุรงคสันนิบาต ” แปลว่า การประชุมพร้อมด้วยองค์ 4 ได้แก่
1. พระสงฆ์ที่มาประชุมในวันนั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุ ได้รับอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า
2. พระสงฆ์เหล่านั้น เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
3. พระสงฆ์ที่มาประชุมในวันนั้นมีจำนวนถึง 1,250 องค์ มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ( เป็นพระที่เคยเป็นชฎิลมาก่อน 1,000 องค์และเป็นพระที่เคยเป็นพระปริพาชกมาก่อน 250 องค์
4. วันนั้นดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์เต็มดวงบริบูรณณ์ ซึ่งเป็นการประชุมครั้งสำคัญที่สุดในสมัยครั้งพุทธกาล ที่มีขึ้น ณ เวฬุวันมหาวิหาร ใกล้กรุงราชคฤห์ เป็นนครหลวงแคว้นมคธ ในเวลาบ่ายของวันเพ็ญ เดือน 3 ในปีแรกที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือหลังจากวันตรัสรู้ได้ 9 เดือน การประชุมครั้งนี้และครั้งเดียวของพระพุทธองค์
ที่ได้แสดงโอวาทปาติโมกข์ แก่พระอรหันต์

และคำว่า ” โอวาทปาติโมกข์ ” แปลว่า โอวาทที่เป็นประธานหรือคำสอนที่เป็นหลักใหญ่ เป็นชื่อหัวข้อธรรม อันเป็นหลักสำคัญของพระพุทธศาสนา จึงเรียกว่า โอวาทปาติโมกข์นี้ว่า ” เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ” เพราะพระพุทธเจ้า ทรงย่นย่อคำสอนในพระพุทธศาสนาทั้งหมดลงในโอวาทปาติโมกข์นี้ และเพราะเหตุนี้นักปราชญ์จึงยกย่องโอวาทปาติโมกข์ว่า เป็นอุตตมอุเทศ คือเป็นภาษิตนิพนธ์พิเศษ และไม่มีภาษิตอื่นยิ่งไปกว่า

ภาพ/ข่าว โดย
ภัทรพล มานะสร้าง เรียบเรียง
ธีระ อำพันสง่าวงค์ อู้อี้
วุฒิบัณฑิต เขียวศิริ
จัด กุ่มประสิทธิ์
ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดสระแก้ว รายงานข่าว

Loading