วันเสาร์, 20 เมษายน 2567

นครปฐม”เรียนฟรี. อบรมช่างซ่อมฟรี ที่ สพร.16 นครปฐม”

นครปฐม เรียนฟรี อบรมช่างซ่อมฟรี ที่ สพร.16 นครปฐม

เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ สพร.16 นครปฐม จัดพิธีเปิดและปฐมนิเทศผู้เข้ารับการฝึกอบรม​ หลักสูตร​การฝึกเตรียมเข้าทำงาน​ สาขาช่างซ่อมและบำรุงรักษา​รถจักรยานยนต์​ ตามโครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนครอบครัวยากจนที่ไม่ได้เรียนต่อ หลังจบการศึกษาภาคบังคับ (ม.3) จังหวัดนครปฐม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.​ 2564 จำนวน 10 คน

นายวิรัตน์ แย้มโชติ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 16 นครปฐม กล่าว การเปิดฝึกอบรมตามหลักสูตร ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) และได้เปิดวีดีทัศน์สารผู้ตรวจ​การแผ่นดิน เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสร้างขวัญกำลังใจ และแจกจ่ายสารผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อเป็นแนวทางแก่นักเรียนผู้รับการฝึกทุกคน

นายวิรัตน์ แย้มโชติ ผอ..สพร.16 นครปฐม กล่าวอีกว่า สารผู้ตรวจการแผ่นดิน (นายสมศักดิ์. สุวรรณสุจริต)
เนื่องในโอกาศเปิดการฝึกอบรมตามโครงการเพ่ิมทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนครอบครัวยากจนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564ผู้ว่าราชการจังหวัด และคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนครอบครัวยากจนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับจังหวัดทุกท่าน ที่ได้มีส่วนสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนโครงการฯ มีความก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จมาถึงขั้นตอนการเปิดฝึกอบรมเพิ่มทักษะด้านอาชีพในวันนี้ ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้มีนักเรียนให้ความสนใจสมัครเข้ารับการฝึกอบรมหลากหลายสาขา เช่น สาขาช่างเดินสายไฟฟ้าภายในอาคาร ช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ ช่างทำความเย็นในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก ช่างเชื่อมอาร์กโลหะด้วยมือ ช่างเย็บจักรอุตสาหกรรม (ผ้า) และสาขาช่างอื่นๆ และขอแสดงความยินดีกับนักเรียนทุกคนที่สมัครเข้าร่วมฝึกอบรมเพิ่มทักษะด้านอาชีพที่ได้ตัดสินใจสร้างโอกาสให้กับตนเองในการมีงานทำและมีรายได้ที่มั่นคงในการทำงานที่มีสถานะเป็น “แรงงานมีฝีมือ”

ในโอกาสนี้มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตนสำหรับนักเรียนที่เข้ารับฝึกอบรมทักษะด้านอาชีพ ดังนี้
ช่วงระหว่างการฝึกอบรมขอให้มีความตั้งใจและมีความขยันในการฝึกอบรมเพื่อให้จบหลักสูตรการฝึกอบรมไปให้ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนแรกของการฝึกอบรมอาจเป็นช่วงที่ค่อนข้างมีความยากลำบากในการปรับตัวของการใช้ชีวิตประจำวัน หรืออาจมีความกังวลใจว่าจะไม่สามารถผ่านหลักสูตรขอให้ไม่ต้องกังวล เนื่องจากหลักสูตรการฝึกอบรมทักษะด้านอาชีพที่เปิดสอนจะมีลักษณะเป็นการเรียนที่เน้นในภาคปฏิบัติมากกว่าภาคทฤษฎี โดยจะเรียนภาคปฏิบัติ 80% ในส่วนภาคทฤษฎีเพียงแค่ 20% ดังนั้นถ้ามีความตั้งใจในการเรียน สามารถเรียนจบได้ทุกคน

นักเรียนที่เข้าฝึกอบรมเพิ่มทักษะด้านอาชีพตามโครงการฯ ทุกคนจะได้รับเงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อย เงินสงเคราะห์กองทุนคุ้มครองเด็ก หรือเงินสงเคราะห์อื่นๆ ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นเงินอุดหนุนในการช่วยเหลือครอบครัวประมาณ จำนวน 6000-8000 บาท ชดเชยรายได้ที่ผู้ปกครองคาดหวังจะได้รับจาการเร่งให้นักเรียนออกไปทำงานหารายได้ช่วยครอบครัวทันทีที่จบการศึกษาภาคบังคับ (ม.3)สิ่งที่จะได้รับหลังจบการฝึกอบรมนักเรียนที่เข้าฝึกอบรมเพิ่มทักษะด้านอาชีพตามโครงการฯ ทุกคนจะมีความรู้ทักษะด้านอาชีพช่างติดตัว เช่น มีความรู้ช่างซ่อมรถ ช่างซ่อมแอร์ ฯลฯมีโอกาศได้งานทำสูง เนื่องจากสำนักงานจัดหางานจะร่วมกับหอการค้าจังหวัดและสภาอุตสาหกรรมจังหวัด พิจารณาหาตำแหน่งงานที่มีความเหมาะสมรองรับนักเรียน โดยสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดจะเป็นผู้ประสานกับสถานประกอบการให้มีความเข้าใจถึงการจ้างแรงงานเด็กและให้โอกาสรับเด็กที่มีอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ เข้าทำงานได้

สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีศักดิ์ศรีและมีรายได้อัตราค่าจ้างที่สูงถึงประมาณ 400-600 บาท/วัน (ตามหลักสูตรที่เปิดฝึกอบรม) ซึ่งมากกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันที่กำหนดไว้ของแต่ละจังหวัดเฉลี่ยไม่เกินประมาณ 340 บาท/วันข้อแนะนำเมื่อจบหลักสูตรการฝึกอบราและเข้าสู่สถานประกอบกิจการ
ต้องประพฤติตนให้เหมาะสม มีระเบียบวินัยในการทำงาน รับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายและมีความรับผิดขอบต่อสถานประกอบกิจการอย่าละเลยการศึกษาต่อเมื่อมีโอกาส ซึ่งสามารถศึกษาต่อใน กศน. หรือ ศึกษาด้วยตนเองควบคู่ไปกับการทำงานในสถานประกอบกิจการได้และท้ายที่สุดต้องมีการพัฒนาศักยภาพของตนเองในสาขาวิชาชีพที่ทำงานอยู่เสมอ โดยอาจทำงานได้สักระยะเวลาหนึ่งแล้วควรสมัครเข้าทดสอบการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อยกระดับมาตรฐานฝีมือช่างและได้รับค่าจ้าง/เงินเดือนที่สูงขึ้นต่อไป

ขอให้กำลังใจ ขอให้นักเรียนที่เข้าฝึกอบรมเพิ่มทักษะด้านอาชีพตามโครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนครอบครัวยากจนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับ (ม.3) ทุกคนประสบความสำเร็จ ผ่านการฝึกอบรม มีงานทำที่มั่นคง มีรายได้ที่สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้อย่างมีคุณภาพและนำมาซึ่งการมึคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต

ทีมข่าว/นครปฐม

Loading