วันเสาร์, 27 เมษายน 2567

เสธ.แก้ว ลงพื้นที่ประสานงานร่วมมือ อปท. และกรมชลฯ เปิดทางน้ำคลองเจดีย์เร่งน้ำท่วงขัง ต.นครปฐม

นครปฐม เสธ.แก้ว ลงพื้นที่ประสานงานร่วมมือ อปท. และกรมชลฯ เปิดทางน้ำคลองเจดีย์เร่งน้ำท่วงขัง ต.นครปฐม

พ.ท.ดร.สินธพ (เสธ.แก้ว) ส.ส.นครปฐม ประสานความร่วมมือกรมชลประทาน เทศบาลเมืองนครปฐม นำเครื่องจักรหนักเร่งกำจัดวัชพืชเปิดทางน้ำคลองเจดีย์ยบูชา เตรียมความพร้อมเร่งผลักดันมวลน้ำช่วงหน้าฝน เน้นประชาชนเดือดร้อนน้อยที่สุดจากน้ำรอการระบาย

วันที่ 15 พ.ค.65 พ.ท.ดร.สินธพ แก้วพิจิตร (เสธ.แก้ว) ส.ส.นครปฐม เขต 1 พร้อมด้วย นายณัฐพงศ์ ถ้ำแก้ว นายกเทศบาลเมืองนครปฐม นายสมหวัง โรจเอกจิตต์ อดีตกำนันตำบลนครปฐม ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีเมืองนครปฐม นายณฐกร ศักดิ์ตระกูล ผบค.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครปฐม กรมชลประทาน ได้ลงพื้นที่ ตำบลนครปฐม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ในการติดตามการดำเนินการในการเปิดทางน้ำในคลองเจดีย์บูชา โดยใช้เครื่องจักรหนักจากกรมชลเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ช่วงฤดูฝนอย่างเป็นทางการซึ่งจะมีปริมาณน้ำที่มากและอาจส่งผลกระทบถึงพี่น้องประชาชนในพื้นที่

ทั้งนี้ในการดำเนินการดังกล่าว เป็นไปตามนโยบายของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครปฐม ได้มีการเตรียมความพร้อมในการระบายน้ำก่อนเข้าสู่ฤดูฝน ในปีนี้ โดยได้มีการสำรวจสิ่งกีดขวามทางน้ำ พบว่าคลองระบายน้ำสายใหญ่ คลองเจดีย์บูชา ในพื้นที่ตำบลนครปฐม ทั้ง 2 ฝั่งมีสิ่งกีดขวางทางเป็นประเภทวัชพืชหยั่งราก และผักตบชวา ซึ่งไม่สามารถใช้กำลังคนได้ จึงได้มีการนำเครื่องจักรหนักจากกรมชลประทานมาดำเนินการเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะมีฝนตกในพื้นที่ตลอดทั้งช่วงฤดูฝนนี้

พ.ท.ดร.สินธพ (เสธ.แก้ว) ส.ส.นครปฐม เขต 1 เผยว่า ในการได้รับการประสานจากนายณัฐพงศ์ ถ้ำแก้ว นายกเทศบาลเมืองนครปฐม ซึ่งได้มีการหารือร่วมกันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกรมชลประทาน จึงได้ประสานของรับการสนับสนุนเครื่องจักรหลักมาดำเนินการเนื่องจาก พื้นที่ดังกล่าวมีผักตบชวา จอกแหน และวัชพืช ขึ้นรกทึบและมีลักษณะเป็นเลน ซึ่งเมื่อหน้าฝนจะมีน้ำท่วมหลายจุด ทำให้ต้องมีการลอกคลองเป็นประจำ โดยจะมีทางระบายน้ำออก 2 ช่องทางหลัก คือคลองเจดีย์บูชา ฝั่งเขตวัดวังตะกู ม.6 และฝั่งถนนบัวทิพย์ ม.4 ซึ่งการวางแผนในการเปิดทางน้ำเพื่อให้สามารถระบายได้อย่างสะดวกและมีพื้นที่รองรับปริมาณน้ำมากขึ้น โดยจะสามารถช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนได้ไม่น้อยกว่า 400 ครัวเรือน ซึ่งจากนี้จะมีการประเมินและวางแผนหาทางจัดการระบบน้ำให้มีความพร้อมที่สุดก่อนที่จะมีปริมาณน้ำฝนตกมากขึ้นในพื้นที่ด้วย

Loading