วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

ส่วนราชการจังหวัดนครปฐม พร้อมด้วยเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอ อ.สามพราน ร่วมประชุมหารือเพื่อวางแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมสวนส้มโอ จากน้ำทะเลหนุนสูงปลายเดือนตุลาคมนี้

นครปฐม ส่วนราชการจังหวัดนครปฐม พร้อมด้วยเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอ อ.สามพราน ร่วมประชุมหารือเพื่อวางแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมสวนส้มโอ จากน้ำทะเลหนุนสูงปลายเดือนตุลาคมนี้

วันที่ 18 ต.ค. 2565 ตามข้อสั่งการของนายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ให้ทุกส่วนราชการติดตามสถานการณ์น้ำท่วม และเร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน

โดยในวันนี้ที่ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม นายยงยุทธ สวนทอง ปลัดจังหวัดนครปฐม พร้อมด้วย นายอำเภอสามพราน ผอ.โครงการชลประทานนครปฐม หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ,ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครปฐม ,ส่วนจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน สำนักงานชลประทานที่ 13 ,ส่วนเครื่องจักรกลเครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้า กรมชลประทาน, ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาในพื้นที่ อ.สามพราน ผู้แทน เกษตรจังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนเกษตรกรจากทุกตำบลของ อ.สามพราน และผู้ปลูกส้มโอของ อ.นครชัยศรี ร่วมประชุมหารือเพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางเตรียมพร้อมรับมือปริมาณน้ำที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอีก ประมาณ 20 – 30 ซม.ในช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้

จากสถานการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาส่งผลให้พื้นที่การเกษตรของ จ.นครปฐม ได้รับความเดือดร้อน เช่นเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ตัดดอก มะพร้าว ฝรั่ง ลำไย ชมพู่ มะม่วง โดยเฉพาะพืชสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างส้มโอ ส่วนใหญ่ปลูกในพื้นที่ อ.สามพราน และอ.นครชัยศรี ในส่วน อ.สามพราน มีเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอ 773 ราย พื้นที่เพาะปลูก 4,282.84 ไร่ ให้ผลผลิตประมาณ 1,500 ก.ก./ไร่ และให้ผลผลิตในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย. ของทุกปี

ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญโดดเด่นเป็นที่ยอมรับและได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI หากเกิดน้ำท่วมพื้นที่ส้มโอมากกว่า 1 สัปดาห์อาจส่งผลให้ยืนต้นตาย และการปลูกส้มโอจะต้องใช้เวลา 5 ปีถึงจะเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งผู้แทนเกษตรกรได้เสนอให้เปิดเครื่องผลักดันน้ำช่วงบริเวณสะพานโพธิ์แก้ว สะพานทรงคะนอง และเพิ่มตรงจุดสะพานวัดไร่ขิง รวมถึงแก้ไขปัญหาเรือสินค้าจอดขวางทางน้ำตรงบริเวณสะพานโพธิ์แก้ว อ.สามพราน

จังหวัดนครปฐม ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังนี้
1. มอบหมายให้โครงการชลประทานติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 8 เครื่อง ประจำคลองสาขาต่างๆ พื้นที่เสี่ยงเพื่อเร่งระบายน้ำ ก่อนวันที่ 25-26 ตุลาคมนี้ รวมถึงการแก้ไขปัญหาระยะยาว ให้สำรวจพื้นที่จุดไหนที่ควรจะทำประตูน้ำเพิ่มเติม
2. ให้กรมเจ้าท่าประสานการจอดเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ ไม้ให้กีดขวางทางน้ำ
3. ให้สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด ประสานท้องถิ่นในพื้นที่ก่อสร้างถนนเพื่อเป็นแนวคันกั้นน้ำ
ทั้งนี้หากเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน และต้องการความช่วยเหลือ ให้ติดต่อผ่านทางกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. เทศบาลในพื้นที่ หลังการประชุมรู้สึกพอใจที่ภาครัฐรับฟังและร่วมกันแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยาว

 

Loading