วันศุกร์, 19 เมษายน 2567

นครปฐม องค์กรจัดการนำ้เสียแถลงข่าวจัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจรเยี่ยมชมพื้นที่โครงการระบบบำบัดนำ้เสีย

นครปฐมองค์กรจัดการน้ำเสียแถลงข่าวการจัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจรเยี่ยมชมพื้นที่โครงการระบบบำบัดน้ำเสีย เทศบาลนครชัยศรีและระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลเมืองไร่ขิง

เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2560 ที่บริเวณระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี และระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลเมืองไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

นายชีระ วงศบูรณะ รักษาการผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย จัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจรนำสื่อมวลชนเยี่ยมชมการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย สืบเนื่องจากคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนตอนล่างประสบปัญหาภาวะวิกฤตสามารถใช้ประโยชน์ได้เฉพาะการคมนาคมเท่านั้น สาเหตุสำคัญเกิดจากการระบายน้ำเสียจากชุมชนต่างๆที่ปล่อยลงสู่แม่น้ำ โดยไม่ผ่านกระบวนการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชนแล้ว ยังทำลายระบบนิเวศวิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งแวดล้อมทางน้ำด้วยตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมารัฐบาลได้ก่อสร้างระบบ บำบัดน้ำเสียรวม 101 แห่ง สามารถบำบัดน้ำเสียได้ประมาณ 3ล้าน ลูกบาศก์เมตรต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 20 ของปริมาณน้ำเสียชุมชนที่เกิดขึ้นทั้งหมด อย่างไรก็ตามระบบบำบัดน้ำเสีย 101 แห่ง ดังกล่าวส่วนใหญ่กำลังประสบปัญหาด้านการ บริหารจัดการอาทิ ขาดแคนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ขาดแคลนงบประมาณสำหรับการเดินระบบ และบำรุงรักษาทำให้ไม่สามารถเดินระบบบำบัดน้ำเสียได้เต็มประสิทธิภาพนอกจากนี้การก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวม ดังกล่าว ใช้งบประมาณจำนวนมาก ซึ่งรัฐบาลอาจประสบปัญหาด้านการดำเนินงานการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อรองรับปัญหาน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศที่มีประมาณเกือบ 8,000 แห่ง ดังนั้น การก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียในชุมชนขนาดเล็กจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำลังประสบปัญหาภาวะมลพิษทางน้ำ

 

เนื่องจากใช้ระบบบำบัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาตินี้การดูแลรักษาง่ายไม่ต้อง อาศัยผู้เชี่ยวชาญ จึงไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และไม่เป็นภาระในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้สามารถบริหารจัดการน้ำเสียได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้มลพิษทางน้ำลดลงและ คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำดีขึ้นตามลำดับ โดยระบบบำบัดน้ำเสียทั้งสองแห่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอเอสประเภท Fixed Film Aeration System โครงสร้างระบบบำบัดน้ำเสียเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กแบบฝังใต้ดินพร้อมอาคารสำนักงานควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย และมีความสามารถในการบำบัดน้ำเสีย 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากชุมชนจะถูกรวบรวมตามท่อไปยังบ่อรวบรวมน้ำเสีย (Pump)และใช้เครื่องสูบน้ำเสียสูบส่งไปยังโรงบำบัดน้ำเสียจากนั้นนำน้ำเสียจะผ่านตะแกรงดักขยะ(Screen)เพื่อดัก เศษขยะออกจากน้ำเสียก่อนลงสู่บ่อปรับสมดุล(Equalization Tank)เพื่อปรับคุณภาพและปริมาณน้ำเสียโดยรวมให้มีค่าเหมาะสม ก่อนสูบส่งเข้าสู่ถังเติมอากาศ(Aeration Tank)หลังจากนั้นน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจะไหลไปยังถังตกตะกอน(Sedimentaion Tank)และจะมีตะกอนส่วนเกิน ถูกเก็บไว้ที่ถังพักเวียนตะกอน เพื่อสูบส่งไปยังถังเติมอากาศและน้ำใสที่ผ่านการตกตะกอนแล้วจะถูกรวบรวมที่ถังพักน้ำทิ้ง โดยใช้เครื่องสูบน้ำทิ้งไปยังแม่น้ำต่อไป

นครปฐม ธงชัย วัชดลชัย​

Loading