วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

ลูกหลานคนเมืองเหนือเร่งตบแต่งไม้กำ้สะหลี ใช้ประกอบพิธีในวันพญาวัน

จ.พะเยา – ลูกหลานคนเมืองเหนือเร่งตบแต่งไม้ก้ำสะหลี ใช้ประกอบพิธีในวันพญาวัน เชื่อทำให้มั่นยืนยาว เจริญรุ่งเรือง

วันนี้(10เมษายน2561) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในห้วงเทศกาลสงกรานต์หรือปี๋ใหม่เมืองของทางภาคเหนือ ผู้เฒ่าผู้แก่ทางภาคเหนือโดยเฉพาะที่จังหวัดพะเยาจะนำไม้ที่มีน้ำหนักเบา เช่น ไม้กระถินหรือไม้สัก ที่มีง่ามหรือกิ่ง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-5 นิ้ว ความยาวประมาณตั้งแต่ 1เมตรไปจนถึง5เมตร เพื่อนำไปประดับตกแต่งเป็นไม้ ”ก้ำสะหลี / ก้ำศรี ” หรือไม้ค้ำต้นโพธิ์ ตามความเชื่อของคนไทยภาคเหนือมาตั้งแต่โบราณกาล

นายหาญ ธรรมโม อายุ 65 ปี บ้านเลขที่ 19 ถ.หลังวัดลี ซ.1 ม.14 ต.ท่าวังทอง อ.เมือง จ.พะเยา เปิดเผยว่า ปกติในช่วงสงกรานต์ในวันพญาวัน ชาวเหนือจะนำตุงหรือธงไปปักกองทราย ควบคู่ไปกับการนำไม้ก้ำสะหลี ซึ่งเป็นไม้ง่ามที่ประดับตกแต่งด้วยกระดาษสาสีสันสวยงามฉูดฉาดหลายๆสีตามใจคนที่จะติด โดยใช้กาวที่ทำจากการต้มแป้งข้าวเหนียวจนเป็นเหมือนกาวลาแท็กซ์ จากนั้นก็นำกาวมาทาโดยรอบไม้ก้ำสะหลีและนำกระดาษสามาแปะติดเป็นลวดลายต่างๆตามใจชอบ จากนั้นก็จะนำไปค้ำต้นศรีหรือต้นโพธิ์ที่อยู่ภายในวัดใกล้ๆชุมชน หรือหากไม่มีต้นโพธิ์ก็ใช้ค้ำต้นไม้ใหญ่ๆภายในวัดแทนก็ได้

อานิสงค์หรือความเชื่อเรื่องไม้ก้ำสะหลี ชาวเหนือเชื่อว่า เป็นการค้ำชูชีวิตให้เจริญรุ่งเรือง ให้อายุมั่นยืนยาว มีสงบร่มเย็น เหมือนกับต้นโพธิ์ ที่แผ่กิ่งก้านสาขาปกคลุมไปทั่ว และอีกนัยหนึ่งก็เหมือนกับการค้ำจุนพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่และเจริญรุ่งเรืองสืบไป

Loading