วันพฤหัสบดี, 18 เมษายน 2567

ปราีนบุรี-แรงงานพม่าประท้วงเรียกร้องค่าชดเชยล่วงเวลา หลังอ้างเป็นกลุ่ม NGO

ปราจีนบุรี-แรงงานพม่าประท้วงเรียกร้องค่าชดเชยล่วงเวลา หลังอ้างเป็นกลุ่ม NGO

จากกรณีที่กลุ่มแรงงานพม่าเห็นว่าพวกตนที่เป็นแรงงานชาวพม่าจำนวน 271 คน ไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับค่าแรงงานและสวัสดิการ จึงได้เดินทางไปหารือหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงาน ที่ศูนย์ราชการจังหวัดปราจีนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี โดยกลุ่มตัวแทนได้แจ้งให้กับสำนักงานสวัสดิการคุ้มครองแรงงานจังหวัดปราจีนบุรี แจ้งว่า บริษัท ท๊อป ฟิชชิ่ง เน็ท แอนด์ โรป จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 195 หมู่ 3 ตำบลลาดตะเคียน อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นโรงงานผลิตแห อวน เครื่องมือประมงของคนไทย ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ในเรื่องเกี่ยงกับสิทธิ วันหยุดพักผ่อนประจำปี ค่าทำงานล่วงเวลา และค่าจ้างแรงงานในวันหยุด ต่อมาทางสวัสดิการคุ้มครองแรงงานจังหวัดปราจีนบุรี จึงได้เชิญผู้ประกอบการไปพบ และให้ดำเนินการตามที่กฎหมายแรงงงานกำหนด พนักงานในโรงงานได้เพียงรอ ว่าทางผู้ประกอบการจะจ่ายเงินตามที่กฎหมายแรงงานกำหนดไว้ ปรากฏว่าทางโรงงานกลับไม่ดำเนินการตามที่ตกลง และยื่นเงื่อนไขให้กับกลุ่มแรงงานพม่าทั้งหมด ว่าทางโรงงานจะจ่ายให้รายละ 5,000 บาท พร้อมทั้งให้คนงานทั้งหมดสมัครเข้ามาทำงานใหม่ กลุ่มคนงานเห็นว่าทางโรงงานไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และยังถูกโรงงานไล่ออกทั้งหมด จึงได้มารวมตัวกันที่วัดคลองกลาง หมู่ที่ 11 ตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี ซึ่งใกล้กับโรงงานเป็นที่พักอาศัย เพื่อเรียกร้องสิทธิของตนเองไปยังหน่วยงานภาคราชการ รวมถึงสถานทูตพม่า

ในช่วงเย็นที่ผ่านมาวันเดียวกัน Mr U SAN MAUNG OO (สถานทูตประจำประเทศไทย พร้อมด้วย นายอ่องโจ ผู้แทนเครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ พร้อมเจ้าหน้าที่ ได้เดินทางลงมาพื้นที่ โรงงานดังกล่าว โดยได้มีการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อเข้ารับฟังปัญหาที่เกิดขึ้น จากนั้น Mr U SAN MAUNG OO สถานทูตประจำประเทศไทย พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ได้เข้าไปที่โรงงานดังกล่าว เพื่อที่รับฟังข้อมูลปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ซึ่งใช้เวลาการพูดคุยกันประมาณ 1 ชั่วโมงยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ทางด้านนายอ่องโจ ผู้แทนเครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ พร้อมเจ้าหน้าที่ ได้เดินทางมาพบกลุ่มแรงงานพม่า ที่วัดคลองกลาง เพื่อมาชี้แจงข้อกฎหมายแรงงานของไทย ให้กับกลุ่มคนงานพม่ารับทราบ และรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นกับแรงงาน เพื่อต้องการทราบสาเหตุที่กลุ่มคนงานถูกนายจ้างเลิกจ้างทั้งหมด ก่อนที่จะเชิญตัวแทนมาพูดคุยหารือถึงข้อเรียกร้องที่กลุ่มคนงานต้องการ เพื่อนำตัวแทนแรงงานพม่าไปพบกับผู้ประกอบการ

ทางด้าน นายอภิชา ขอสงวนนามสกุล เจ้าของโรงงานดังกล่าว เล่าว่า ทางด้านของโรงงานไม่เคยคิดจะไล่คนงานหรือแรงงานชาวพม่าออกเลย ทั้งนี้เพราะแรงงานไปเชื่อกับกลุ่มแกนนำ ที่ได้รับมาจากกลุ่มNGO(เถื่อน ที่ทางการของพม่าต้องการตัวอยู่) คือหลังจากที่คนงานได้บัตรอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว (ซึ่งทางโรงงานเป็นคนทำให้ แล้วใช้คืนภายหลัง) ก็เริ่มมีกลุ่มแกนนำที่ว่า มาปลุกปั่นให้แรงงานชาวพม่าเริ่มมีการไม่ปฏิบัติตามกฎของโรงงาน ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือน พฤษภาคม กลุ่มแรงงานพม่าก็เชื่อกลุ่มแก่นนำไปเรียกร้องที่ศูนย์ราชการมาแล้ว ถึงทางหน่วยงานก็มีการเรียกเข้าไปพูดคุยกันแล้วในส่วนหนึ่งและมาเมื่อวานที่ผ่านมา ก็ได้มีการเรียกแกนนำ ของกลุ่มแรงงานเข้าไปพูดคุยกัน จนยอมรับได้ว่าจะชดเชยในส่วนหนึ่ง คือ จ่ายค่าล่วงเวลา ให้คนละ 5,500 บาท แล้วให้เรื่องเก่ายุติลง เพราะที่ผ่านมา ต่างคนก็ต่างผิด คร่าวๆที่ได้รับทราบว่าว่า มีแกนนำบางคนปล่อยข่าวว่าทางบริษัทได้ชดเชย ในส่วนที่เรียกร้องไปแล้ว ซึ่งทำให้กลุ่มคนงานดังกว่าอยากได้ในส่วนนั้นบาง

ซึ่งจริงแล้ว ทางโรงงานยังไม่เคยจ่ายในส่วนนั้นเลย ทั้งนี้จะต้องมีการตกลงกัน ส่วนในเรื่องของของการยึดบัตร ยึดโทรศัพท์นั้น ทางโรงงานมีนโยบายอยู่แล้วว่าการเข้าประชุม ที่เป็นเรื่องที่สรุปไม่ได้ เราจะไม่ให้มีการไลฟ์สด หรือแพร่ภาพออกไปเพราะจะทำให้โรงงานเกิดความเสียหาย เพราะที่ผ่านมาแรงงานพม่ามักจะติดไลฟ์สดในกลุ่มของตนเองและในกลุ่มของประเทศเค้า ทำให้เข้าใจกันเอง ทำให้เข้าใจผิดว่าทางบริษัทเอาเปรียบคนงาน เราขอยืนยันว่าไม่ได้ไล่คนงานออก แต่เป็นเพราะแรงงานเหล่านั้นเชื่อกับกลุ่มที่อ้างตัวว่าเป็นNGO หลังจากที่สถานทูตพร้อมคณะได้เข้าพูดคุยแล้ว ก็ได้รายงานไปตามข้อเท็จจริง ซึ่งในวันพรุ่งนี้จะได้มีการพูดคุยกันอีกครั้ง เพื่อหาข้อสรุปที่ดีทั้งสองฝ่าย

ภาพ/ข่าว ณัฐวัฒน์ กุลเศรษฐ์สุวภา
นาย  พรเทพ เขม้นเขตวิทย์
รายงานจากศูนย์ข่าวภาคตะวันออก

Loading