วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

ประธานสภาฯชูนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

นายหัสดิน สุวัฒนะพงศ์เชฏ ประธานสภาฯชู้นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา


วันที21 มิถุนายน 2561 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น3 สำนักงานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา นายหัสดิน สุวัฒนะพงศ์เชฏ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา แถลงข่าวแก่สื่อมวลชนในฐานะเข้ามารับตำแหน่งประธานสภาฯ ตลอดจน แนวทางและนโยบายการทำงานในสภาอุตสาหกรรมฯ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

โดยนายหัสดิน สุวัฒนะพงศ์เชฏ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า เข้ามารับตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 จากการได้รับเลือกในที่ประชุมใหญ่สามัญของสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา

สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลาง SMEs เราได้มีการส่งเสริม ในเรื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้มากขึ้น ให้สามารถแข่งขันในตลาด โดยการจัดสัมมนา และศึกษาดูงาน รวมทั้งกิจกรรมเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการเพิ่มช่องทางการขายและการได้รับคอนเน็คชั่นเพิ่มขึ้นเพื่อให้สินค้าไปสู่ตลาดอย่างกว้างขวาง อีกทั้งยังได้ส่งเสริมในเรื่องของการประหยัดพลังงาน โดยมีโครงการ Energy Points ซึ่งจะเข้าไปส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขนาดกลาง มีการลดต้นทุนเรื่องของการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องที่ทางสภาอุตสาหกรรมเราทำมาตลอด

ซึ่งหลังsจากรับตำแหน่ง มีความตั้งใจพัฒนาเศรษฐกิจโดยได้มีวางนโยบาย ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้ประกอบการเอาไว้ ให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละที่ ซึ่งมีทั้งผู้ประกอบการขนาดเล็ก / SMEs และผู้ประกอบการขนาดใหญ่ สำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก จะมีการส่งเสริมเพิ่มองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ ทั้งในเรื่องสัมมนา อบรม ให้ความรู้ในการด้านผลิต ด้านภาษี ด้านการจัดซื้อ จัดหา รวมทั้งให้คำปรึกษา ในเรื่องของการขยายตลาด ซึ่งสภาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในเรื่องของการขอรหัสสกลตราสินค้าหรือบาร์โค้ด เพื่อให้สินค้าของโรงงานผลิตรายย่อยสามารถขยายตลาดเข้าไปขายในห้างสรรพสินค้าได้ โดยผู้ประกอบการสามารถติดต่อสมัครใช้บาร์โค้ดได้ที่สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมาได้โดยตรง

ในส่วนของผู้ประกอบการขนาดใหญ่ เน้นในเรื่องของเทคโนโลยี โดยจะส่งเสริมให้ นำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ AI /Robotหรือในเรื่องของ IOT (Internet of Things) ที่ปัจจุบันเข้ามามีบทบาทสำคัญในด้านการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการต้องมีปรับตัว เพื่อจะก้าวให้ทันในโลกยุคอุตสาหกรรม 4.0 นอกจากนี้ สภาอุตสาหกรรมของเรายังได้ให้บริการเรื่องของการทำบัตรวีซ่าเอเปค APEC Business Travel Card (ABTC)หรือบัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจเอเปค ซึ่งผู้ถือบัตรสามารถใช้ควบคู่กับหนังสือเดินทางเพื่อเดินทางเข้าดินแดนของสมาชิกเอเปคที่ร่วมโครงการนี้ (ปัจจุบันมีจำนวน 19 เขตเศรษฐกิจ) ในการติดต่อธุรกิจระยะสั้นได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าอีก ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าเมืองโดยสามารถใช้ช่องทางพิเศษสำหรับสมาชิกเอเปค (APEC Lane)ซึ่งตั้งอยู่ตามท่าอากาศยานนานาชาติของสมาชิกเอเปค ซึ่งบัตรเดินทางนี้จะช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายสำหรับนักธุรกิจที่ต้องการเดินทาง ในส่วนที่เกี่ยวกับการขอวีซ่าและขั้นตอนในการเข้าเมือง จนถึงปัจจุบัน มีสมาชิกเอเปค จำนวน 19 เขตเศรษฐกิจ เข้าร่วมโครงการบัตรเดินทางฯ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน ชิลี จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย นิวซีแลนด์ เปรู ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกินี สิงคโปร์ ไทย ไต้หวัน เวียดนาม เม็กซิโก และรัสเซีย นอกจากนั้น ยังเป็นที่คาดหมายว่า จะมีสมาชิกเอเปคอื่นๆเข้าร่วมในโครงการนี้เพิ่มขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกา ได้เข้าร่วมโครงการ ABTC แล้ว โดยเป็นสมาชิกชั่วคราว กล่าวคือ ไทยและสหรัฐฯ จะยังไม่มีการให้ pre-clearance แก่นักธุรกิจของกันและกัน อย่างไรก็ตาม หากผู้ถือบัตร ABTC ของไทยประสงค์จะเดินทางเข้าสหรัฐฯ จะต้องได้รับวีซ่าเข้าสหรัฐฯ ก่อน แต่สามารถใช้ช่องทาง ABTC lane ในท่าอากาศยานนานาชาติของสหรัฐฯ เพื่อรับอำนวยความสะดวกในการเข้าเมือง โดยแสดงบัตร ABTC แก่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ทั้งนี้ การใช้บัตร ABTC เดินทางเข้าสหรัฐฯ เป็นการรับการอำนวยความสะดวกในการเข้าเมืองเท่านั้น มิใช่การยกเว้นวีซ่าเข้าสหรัฐฯ กรณีของประเทศแคนาดานั้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นมา แคนาดาเริ่มให้ผู้ที่ถือบัตร ABTC สามารถเดินทางเข้าประเทศแคนาดาโดยใช้บริการของเคานท์เตอร์พิเศษ ณ สนามบินนานาชาติ 8 แห่ง คือ Vancouver International Airport, Toronto Pearson International Airport (Terminal 1 and 2), Ottawa Macdonald-Cartier International Airport, Montreal-Pierre Elliot Trudeau International Airport, Halifax Robert L. Stanfield International Airport, Calgary International Airport, Winning James Armstrong Richardson International Airport, และ Edmonton International Airport การอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าแคนาดาของผู้ถือบัตร ABTC ผู้ซึ่งมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขการขอวีซ่าเข้าประเทศแคนาดา ในขณะที่แคนาดากำลังจะเข้าร่วมในโครงการ ABTC โดยขั้นตอนที่สองจะดำเนินการเพื่อให้นักธุรกิจแคนาดาสามารถเดินทางภายในภูมิภาคเอเปค ให้ได้รับประโยชน์ความสะดวกรวดเร็วพิธีการทางเข้า – ออก ที่สนามบิน ดังนั้นการเดินทางเข้าประเทศแคนาดาของผู้ถือบัตร ABTC ยังคงต้องดำเนินการขอวีซ่าจากสถานทูตแคนาดาก่อนการเดินทาง

นอกจากนี้ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา ยังได้ส่งเสริมและผลักดันในด้านเศรษฐกิจ และโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นนโยบายของรัฐบาล เช่น เรื่อง มอเตอร์เวย์ รถไฟทางคู่ โดยเฉพาะในเรื่องของการตั้งท่าเรือบกหรือ ICD (Inland Container Depot) รองรับการขนส่งสินค้าระบบราง ซึ่งสภาฯเองจะผลักดันให้ สถานที่ดังกล่าวนี้สามารถให้บริการแก่ลูกค้าในระบบ CY หรือ Container Yard ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ทั้ง 3 จุด เพื่อให้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ สำหรับเรื่องของมอเตอร์เวย์ สภาอุตสาหกรรมฯ จะผลักดันให้ผู้ประกอบการเข้าไปใช้ ประโยชน์ ในเรื่องของจุดขายสินค้า ตามจุดต่างๆของมอเตอร์เวย์ เรื่องของ รถไฟความเร็วสูง จะพยายามผลักดันให้จังหวัดจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจให้รองรับกับรถไฟความเร็วสูงที่กำลังจะก่อสร้างเสร็จในเร็วๆนี้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและใช้งานให้ได้เต็มที่

สำหรับเรื่องที่เกี่ยวข้องการการพัฒนาเศรษฐกิจนั้น เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ทางสภาอุตสาหกรรมฯจะพยายามส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา จากการดำเนินการทางด้านนโยบายต่างๆ ซึ่งทางคณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมฯจะมีการหารือเรื่องนี้ ในการประชุมคณะกรรมการประจำเดือน ทุกๆเดือน

ภาพ-ข่าวสันติ วงษาเกษ
จ.นครราชสีมา

Loading