วันอังคาร, 16 เมษายน 2567

จังหวัดศรีสะเกษ-เปิดงานเทศกาลทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ

จังหวัดศรีสะเกษเปิดงานเทศกาลทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ อาเซียน เทรดแฟร์ 2561 ส่งเสริมการท่องเที่ยวสวนเกษตรกร และจำหน่ายทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงในราคาหน้าสวน

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2561 ที่บริเวณสวนปาล์มวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ นายธวัช สุระบาล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้เป็นประธานเปิดงานเทศกาลทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ อาเซียน เทรดแฟร์ 2561 (Lava Durian Sisaket & Asean Trade Fair 2018) ในระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน ถึงวันที่ 8 กรกฎาคม 2561 โดยนายสว่าง กาลพัฒน์ เกษตรจังหวัดศรีสะเกษ นำเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษในจังหวัศรีสะเกษเข้าร่วมกิจกรรมนำทุเรียนไปร่วมจัดนิทรรศการและจำหน่ายจำนวนกว่า 200 บูธ และมีข้าราชการและนักธุริจจากประเทศจีน กัมพูชาและประเทศลาวร่วมในพิธีเปิดงานเทศกาลทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษอาเซียน เทรดแฟร์ 2561 ในครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษให้เป็นรู้จักทั่วโลก ส่งเสริมการท่องเที่ยวชม ซื้อและชิมทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษที่สวนของเกษตรกร และจำหน่ายทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงในราคาหน้าสวน

นายธวัช สุระบาล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า จังหวัดศรีสะเกษ เริ่มมีการปลูกทุเรียนเมื่อปี พ.ศ. 2531 เริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 นับว่าศรีสะเกษเป็นจังหวัดแรกๆของภาคอีสานที่มีการปลูกทุเรียน และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ไม่แพ้ทุเรียนเจ้าตำรับจากภาคใต้และภาคตะวันออก ซึ่งเกษตรกรนิยมปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ปัจจุบันมีพื้นที่การปลูกทุเรียน 6,085 ไร่ ประกอบด้วยอำเภอกันทรลักษ์ ศรีรัตนะและขุนหาญ ปริมาณผลผลิตรวม 4,475 ตัน สร้างรายได้ให้จังหวัดปีละประมาณ 500 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีผลไม้และพืชเศรษฐกิจอีกหลายชนิดที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ เช่น เงาะ ลำไย มังคุด ลองกอง เป็นต้น

ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวอีกว่า ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคทั่วไป มีความแตกต่างจากผลผลิตทุเรียนจากแหล่งผลิตอื่นๆ สร้าง Branding ของจังหวัด โดยเน้นกระบวนการสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ กับผู้บริโภคโดยตรง งานเทศกาลเงาะทุเรียนและของดีศรีสะกษ เริ่มตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปัจจุบัน รวม 24 ปี จึงทำให้ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ เป็นที่รู้จักโดยทั่วกันของผู้บริโภคและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอาเซียน สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในปี 2561 ประมาณ 500 ร้อยล้านบาทแน่นอน

บุญทัน ธุศรีวรรณ ข่าว/ภาพ

Loading