วันเสาร์, 20 เมษายน 2567

มุกดาหาร!!กรมท่าอากาศยานลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นการจัดตั้งสนามบินมุกดาหาร”

มุกดาหาร กรมท่าอากาศยานลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นการจัดตั้งสนามบินมุกดาหาร
กรมท่าอากาศลงพื้นที่มุกดาหาร เพื่อรับฟังโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสนามบินมุกดาหาร เนื่องจากเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และเขตพัฒนาการท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน

เมื่อวันที่ 23 07 61 ที่ห้องดุสิตา โรงแรมมุกดาหาร แกรนด์ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร นายดรุณ แสงฉาย อธิบดีกรมท่าอากาศยาน พร้อมด้วยคณะ ลงพื้นที่จังหวัดมุกดหาร เพื่อรับฟังโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสนามบินมุกดาหาร เนื่องจากเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และเขตพัฒนาการท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง โดยมีนายไพฑูรย์ รักษ์ประเทศ ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ หอการค้าจังหวัดมุกดาหาร หอการค้าอำเภอเลิงนกทา ประชาวชาวจังหวัดมุกดาหาร และชาวอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้จำนวน 500 คน

ด้านนายดรุณ แสงฉาย อธิบดีกรมท่าอากาศยาน เปิดเผยว่า กรมท่าอากาศยานได้มารับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาความเหมาะสมในการสร้างสนามบินมุกดาหาร ทั้งนี้ด้วยทางรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม ท่านอาคม เติมพิทยาไพสิฐ มอบหมายให้กรมท่าอากาศยาน ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมในการสร้างสนามบิน เนื่องจากเห็นว่าจุดนี้มีความประสงค์และมีความต้องการของภาคส่วน ๆ ในจังหวัดมุกดาหาร และจุดนี้เองทางกระทรวงและกรมท่าอากาศยาน มองเห็นว่าเป็นจุดที่เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และเป็นจุดเชื่อมต่อระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตก สามารถเชื่อมดยงกับ เวียดนาม ลาว และพม่าได้ ฉะนั้นมุกดาหารห่างจากสนามบินไกลพอสมควร จึงได้เกิดโครงการศึกษาความเหมาะสมขึ้น ใช้งบประมาณ 6 ล้านบาท ในจ้างที่ปรึกษา
อธิบดีกรมท่าอากาศยาน กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สนามบินเลิงนกทา ซึ่งเป็นสนามบินเดิม มีการเสนอเข้า กรอ. ในวันนี้ ซึ่งผลการศึกษาของสัญญานี้ ก็จะรวมในเชิงเปรียบเทียบกับสนามบินเลิงนกทาด้วย เพื่อหาจุดที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างสนามบิน กรมท่าอากาศยานจะดำเนินขั้นตอนต่าง ๆ ศึกษาความเหมาะสม ระยะเวลา 170 วัน

ประมาณ 9 เดือน สิ้นสุดประมาณต้นปี 62 ก็จะนำเสนออนุมัติในเชิงนโยบายกระทรวง และรัฐบาลเห็นชอบในผลการศึกษาก็จะดำเนินการออกแบบ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และก็ขออนุมัติดำเนินการรูปแบบการลงทุน จะลงทุนเองหรือให้เอกขนร่วมลงทุน โดยรัฐจัดหาที่ดินให้ก็จะเป็นวิธีการต่อไป ต้องใช้เวลา 6-7 ปี ในการดำเนินการ ทางกรมท่าอากาศยาน ซึ่งถือว่าเป็นรัฐบาล ดำเนินการศึกษาอย่างตกไปตรงมา ทุกอย่างที่จะออกมาเปรียบเทียบอย่างชัดเจน สามรถอธิบายกับสาธารณะชันได้ว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะอย่างไร ซึ่งจะพิจารณาหลายปัจจัยในความไกล้ไกล แนวทิศทางแนววงจรการบิน แนวเศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจท้องถิ่น จีดีพีท้องถิ่น ความต้องการในอนาคต ซึ่งเกษตรกรรม อุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่าง ๆ มีผลต่อการมาเป็นตัวแปรในการพิจารณา ทางกรม ๆ ก็จะดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา ตามหลักวิชาการ ณ ตอนนี้ยังตอบอะไรไม่ได้ชัดเจน จะเป็นตรงจุดไหนของเลิงนกทา หรือมุกดาหาร มุกดาหารอาจจะมีพื้นที่เหมาะสมหลายจุด ซึ่งจะได้ศึกษาอย่างละเอียดต่อไป

มุกดาหาร เป็นจังหวัดที่เปรียบเสมือนประตูด้านตะวันออก หรือเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ( EWEC ) สามารถเชื่อมโยงจากทะเลจีนใต้ ประเทศเวียดนาม มุ่งมาทางตะวันตก ผ่านลาว ไทย พม่า ออกสู่มหาสมุทรอินเดีย มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยง และมีผู้มาเยี่ยมเยือนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ( กนพ. ) จึงประกาศให้เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เช่นเดียวกับที่กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ประกาศเป็นเขตพัฒนาการท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง อย่างไรก็ตามแม้ว่าจังหวัดมุกดาหารจะมีศักยภาพเพียงใด แต่ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานภายในจังหวัดยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ และควรพัฒนาให้มีระบบขนส่งทางอากาศ

กรมท่าอากาศยาน เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีอำนาจหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์ความจำเป็น และความเป็นไปได้ในการทมีท่าอากาศยานแห่งใหม่ เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน จึงได้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างสนามบินมุกดาหาร ด้วยการคัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพต่อการสร้างสนามบิน โดยพิจารณาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสำรวจออกแบบท่าอากาศยาน และจัดทำแบบรูปรายละเอียดเบื้องต้น
ทั้งนี้จะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการพัฒนาสนามบินมุกดาหาร เพื่อเสนอให้รัฐบาลพิจารณา และจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว เพิ่มความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน มีประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนทั้งในจังหวัดมุกดาหารและจังหวดใกล้เคียง โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสนามบินมุกดาหาร เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของโครงการก่อสร้างสนามบินมุกดาหาร ศึกษาวิจัยด้านวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐศาสตร์ และออกแบบเบื้องต้นของโครงการ ที่มีผลต่อการพัฒนาสนามบินมุกดาหาร

นอกจากนี้การเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับก่อสร้างสนามบินมุกดาหาร ได้พิจารณาปัจจัยหลาย ๆ ด้านประกอบกัน อาทิ สภาพภูมิอากาศ ทิศทางลม พื้นที่ราชพัสดุ พื้นที่อ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม โครงข่ายคมนาคม ระยะเวลาการเดินทาง รวมทั้งข้อคิดเห็นและข้อมูลที่ได้รับระหว่างการศึกษาโดยมีแนวคิดดังนี้ เป็นพื้นที่ที่ไม่ห่างจากตัวเมืองมากเกินไป การเดินไปสนามบินไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง เป็นพื้นที่ราบ หรือที่เนินที่ไม่ตัดดินหรือถมดินมากเกินไป ไม่เป็นพื้นที่อ่อนไหวทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าอนุรักษ์ โบราณสถาน วัด โรงเรียน โรงพยาบาล ชุมชน เป็นพื้นที่ราชพัสดุ และพื้นที่ที่สามารถจัดซื้อได้โดยมีผลกระทบต่อประชาชนน้อย ไม่เป็นพื้นที่น้ำท่วม ไม่เป็นพื้นที่ภูเขาหรือสิ่งกรีดขวางทางขึ้นลงเครื่องบินทั้ง 2 ด้าน พื้นที่ห่างจากชุมชน เป็นพื้นที่ต้องห่างจากชายแดนตามข้อตกลงหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ อีกด้วย..

อนุศักดิ์ – เสาวภา แสนวิเศษ / มุกดาหาร

Loading