วันเสาร์, 20 เมษายน 2567

สอศ.ปลื้มจับคู่ธุรกิจ เพิ่มมูลค่า 5 ภูมิภาคกว่า 1 ล้านบาท”

สอศ.ปลื้มจับคู่ธุรกิจ เพิ่มมูลค่า 5ภูมิภาคกว่า1ล้านบาท สนองนโยบายชาติ 20ปีผู้ประกอบการเชื่อมั่น องค์ความรู้อาชีวะ แห่ร่วมจับคู่ธุรกิจ

วันที่20/ส.ค./61 ณ วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการศึกษาธิการ(รมช.ศธ.)เปิดเผยการลงพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนสิ่งประดิษฐ์สู่อุตสาหกรรมภาคใต้
พร้อมเตรียมผลักดันเกษตรสู่สมาร์ทฟาร์มเมอร์ ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร
ลงพื้นที่ติดตามงานนโยบายการศึกษา “อาชีวศึกษา”ในโครงการขับเคลื่อนผลงานสิ่งประดิษฐ์ ตลอดจนผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมอาชีวศึกษาให้สามารถจำหน่าย ได้ในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 สอศ. ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมของภาคใต้ ขึ้นระหว่างวันที่ 18-20 สิงหาคม 2561 ในการดำเนินการขับเคลื่อนนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา สู่ภาคอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมเป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อน คือเป็นการจับคู่ระหว่าง สถานประกอบการกับสถานศึกษา และการเจรจาซื้อขายผลงาน สิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมอาชีวศึกษา จนถึงการให้คำแนะนำการวิจัยพัฒนาต่อยอดสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมอาชีวศึกษาเพื่อดำเนินธุรกิจ เชิงพาณิชย์

“ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการมาแล้วในส่วนของ ภาคตะวันออกและพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) จำนวน 116 ชิ้นงาน มีการจับคู่ธุรกิจ 24 คู่ มูลค่าซื้อขายไม่น้อยกว่า 200,000 บาท
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 243 ชิ้น จับคู่ธุรกิจ 98 คู่ มูลค่าซื้อขายไม่น้อยกว่า 812,879 บาท ภาคกลาง จำนวน 222 ชิ้นงาน จับคู่ธุรกิจ147 คู่ มูลค่าซื้อขายไม่น้อยกว่า 400,000 บาท
ภาคเหนือ จำนวน 251 ผลงาน จับคู่ธุรกิจ จำนวน 170 แห่ง มูลค่าซื้อขายไม่น้อยกว่า 228,815 บาท ภาคใต้จำนวน275ผลงาน จับคู่ธุรกิจ135ตู่ มูลค่าซื้อขายไม่น้อยกว่า 1,206,000บาท รวมทั้งสิ้น ใน5ภูมิภาค เกิดมูลค่าซื้อขายทั้งสิ้น 138,487,694บาท ข้อมูลทั้งหมดอยู่ภายใต้ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา 1ศูนย์กลาง 6ศูนย์ภูมิภาค 18ศูนย์กลุ่มจังหวัด
โดยได้รับความร่วมมือ ตามกลไก ของรัฐบาล “ประชารัฐ• งานในครั้งนี้เกิดประโยชน์ต่อสถานประกอบการอย่างแท้จริง “

ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.) เปิดแผนว่าโครงการขับเคลื่อนสิ่งประดิษฐ์และ นวัตกรรมอาชีวศึกษา เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ภาคใต้ ประจากปีงบประมาณพ.ศ. 2561เพื่อ สนองนโยบายประเทศไทย 4.0 เป็นการจับคู่ระหว่างสถานประกอบการกับสถานศึกษาและ การเจรจาซื้อขาย ผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอาชีวศึกษา เป้าหมายเพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมอาชีวศึกษา ให้สามารถพัฒนาต่อยอดธุรกิจเชิงพาณิชย์ซึ่งเป็นหัวใจสาคัญ ของการจัดงานในครั้งนี้ และจะนำพาประเทศชาติให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ ชาติ ระยะ20ปี

ณัฐเดช บุญประดิษฐ์ / ภาพ/ ข่าว

Loading