วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

ราชบุรี!!กองพลพัฒนาที่ 1 นำร่องแก้ไขนำ้เสียจากฟาร์มสุกร”

ราชบุรี กองพลพัฒนาที่ 1 นำร่องแก้ไขน้ำเสียจากฟาร์มสุกร เป็นต้นแบบแก่ฟาร์มสุกร

วันที่ 24 ก.ย.61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า… พล.ต.เจษฎา เปรมนิรันดร ผบ.พล.พัฒนา 1พ.อ.ไพรัช โอฬารไพบูลย์ รอง ผบ.พล.พัฒนา 1นายวิสิษฎ์ พวงเพชร รอง ผวจ.ราชบุรีนายสมศักดิ์ พลายมาต ผอ.ส่วนควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ภาค 8 พ.ท.ธนิศร ลิ่มมั่น ผู้บังคับการ พันพัฒนาที่ 1 ตรวจโครงการนำร่องแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนการปล่อยน้ำทิ้งของฟาร์มสุกรลงในบึงสาธารณะ บ้านดอยดิน ม. 2 ต.ห้วยไผ่ อ.เมือง จ.ราชบุรี หลังจากมีชาวบ้านร้องเรียนเรื่องปัญหาน้ำเสียและน้ำส่าเหล้าที่ได้รับความเดือดร้อนมาแล้วกว่า 5 ปี จนคุณภาพน้ำผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ

ทั้งนี้ พล.ต.เจษฎา เปรมนิรันดร ผบ.พล.พัฒนา 1 เปิดเผยว่า… ได้เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องน้ำเรื่องดินเกี่ยวกับฟาร์มสุกร แล้วก็การนำเอามูลสุกรมาทำเป็นปุ๋ยอย่างถูกวิธี ซึ่งจะได้ต้นทุนที่ต่ำแล้วก็ได้ประสิทธิภาพสูง เกษตรกรนำไปใช้แล้วก็จะได้ผลผลิตมาก รวมไปถึงสุดท้ายก็คือในเรื่องของศาสตร์พระราชาเพราะว่าทุกอย่างที่ทำต้องการให้เกิดความยั่งยืนแล้วก็ใช้ได้ถึงชั่วลูกชั่วหลาน ส่วนในการดำเนินการโครงการนำร่อง แก้ไขปัญหาการปล่อยน้ำทิ้งของฟาร์มสุกร ทางเรายืนยันว่าสามารถนำไปใช้ได้และประสบความสำเร็จ เพราะว่าได้ส่งน้ำไปตรวจสอบในห้องแลป ซึ่งผลออกมาก็ดีมากเลย แล้วก็ทดลองเลี้ยงปลาก็ได้ 2 เดือนมาแล้ว ปลาก็แข็งแรง ซึ่งก็ถือว่าโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จตามที่คาดหมาย และในอนาคตจะนำโครงการดังกล่าวเข้าไปใช้ในการแก้ปัญหาในการปล่อยน้ำเสียจากฟาร์มสุกรภายในทุกแห่ง

ด้านนายสมศักดิ์ พลายมาต ผอ.ส่วนควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สนง.สิ่งแวดล้อมภาคที่ 8 กล่าวว่า… ต้องการทราบ ว่าผลการบำบัดน้ำเสียเป็นอย่างไรบ้างเราก็ต้องเก็บไปตรวจวิเคราะห์แล้วก็เทียบกับมาตรฐานน้ำทิ้งจากฟาร์มสุกร เพราะว่าเราก็อนุมานว่าน้ำเสียที่เกิดจากสุกรมาตรฐานน้ำทิ้งจากฟาร์มสุกรประเภท ก. ก็จะมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างค่าความสกปรกในรูปของสารอินทรีย์ BOD ค่าไนโตรเจน ค่าCOD คือค่าความสกปรกที่จุลินทรีย์ใช้ย่อยสลายพวกสารเคมี เป็นตัวที่เราตรวจวิเคราะห์ แล้วก็มีค่าแขวนลอยในน้ำ คราวนี้ผลจากการวิเคราะห์รอบแรกที่ทางของกองพลพัฒนาที่1 ได้เริ่มการบำบัดไปพบมีค่าCOD ที่เกินมาตรฐานอยู่หนึ่งค่า มาตรฐานน้ำเสียกำหนดไว้ไม่ เกิน 300 mg/L เราตรวจได้อยู่ที่ 638 mg/L ก็แจ้งทางกองพลพัฒนาที่1 ให้ดำเนินการบำบัดแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป ถ้ามองในภาพรวมในการแก้ไขปัญหาตอนนี้ก็มาถูกทางแล้ว ส่วนค่าที่มันยังสูงอยู่นั้นจริงแล้วมันคือน้ำกากส่า ปกติมันมีค่า COD สูงอยู่แล้วเดิมที่มีการตรวจค่าCOD สูงกว่าเกือบ 1,000 mg/L ส่วนที่บำบัดแล้วยังมองเห็นเป็นสีน้ำตาลคือสารแขวนลอยที่อยู่ในกากส่าถ้าจะเอาออกก็ยาก

อย่างไรก็ตามผู้บัญชาการกองพลพัฒนาที่ 1 ยังกล่าวเพิ่มเติมหลังจากลงพื้นที่รับทราบผลการดำเนินงานว่า… การแก้ไขปัญหาน้ำเสียจากฟาร์มสุกรทุกภาคส่วนต้องการให้เกิดความยั่งยืน จึงเกิดความร่วมมือของทุกฝ่ายขึ้น โดยน้ำเสียจากฟาร์มสุกรหากได้รับการบำบัดตามแนวทางที่ได้ทำการทดลอง ก็สามารถปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติโดยไม่มีผลเสียต่อสิ่งมีชีวิต เพราะน้ำที่ได้รับการบำบัดแล้วได้นำไปตรวจวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญว่ามีค่าตามตามเกณฑ์มาตรฐาน เบื้องต้นได้นำน้ำไปเลี้ยงปลา และทดลองนำกากในน้ำเสียมาทำเป็นปุ๋ยซึ่งสิ่งนี้จะเป็นการลดต้นทุนแก่เกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาต่างๆได้มีการรวบรวมเป็นหนังสือเพื่อให้ฟาร์มสุกรแห่งอื่นมาศึกษาเป็นต้นแบบได้

สุจินต์ นฤภัย (เต้)

Loading