วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

!!ตะค่องยักษ์ใหญ่ที่สุดในโลก”

นครปฐม ตะค่องยักษ์ใหญ่ที่สุดในโลก ใช้ไม้ไผ่สีสุก 35 ลำใหญ่


เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2561 โอโห้ ใหญ่จริง แปลกแต่จริงตะค่องยักษ์ที่ใหญ่ที่สุด ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในอำเภอดอนตูมได้พบกับตะค่องยักษ์ที่ดูแล้วมีความใหญ่มาก จากนั้นผู้สื่อข่าวได้ไปสอบถามกับนายกจำปี เหล่าปาสี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำเหยทราบว่าตะค่องลูกนี้ชาวบ้านได้รวมตัวกันทำจักรสานมาเพื่อทำเป็นอัตลักษ์ของหมู่บ้านทุ่งสีหลง ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ซึ่งใช้วัสดุในท้องถิ่นเป็นไม้ไผ่สีสุกในหมู่บ้าน จำนวน 35 ลำใหญ่ และใช้คนในหมู่บ้านช่วยกันจัดสานประมาณ 15 คนใช้เวลาในการจักรสานจำนวน 10 วัน วัดรอบตะค่องยักษ์ได้ 8.10 เมตร ความสูง 200 เซนติเมตร ใช้คนประมาณ 11 คนโอบเลยทีเดียว ถ้าใส่ปลาเต็มตะค่องลูกนี้ก็จะบรรจุได้ ประมาณ 4 ตัน กว่าเลยที่เดียว ซึ่งหมู่บ้านทุ่งสีหลงเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว นวัตวิถี OTOP มีแหล่งท่องเที่ยวแบบธรรมชาติ และแหล่งวัฒนธรรม ประเพณีเก่าแก่ในหมู่บ้าน ที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน และโบราณสถานที่น่าศึกษาค้นคว้าอยู่กันอย่างแบบพอเพียง การทำเกษตรแบบพอเพียง


ทางด้านผู้ใหญ่นนท์ แก้วมา อายุ 59 ปี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 13 ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม เล่าให้ผู้สื่อข่าวฟังว่าความเป็นมาในการสานตะค่องใหญ่ เนื่องจากคนสมัยก่อนหมู่บ้านแห่งนี้ซึ่งเป็นทุ่งและเป็นป่าลกป่าทีบป่าใหญ่. ตามที่มีตำนานเล่าขานกันมาของคนสมัยนั้นมีลุงคนหนึ่งชื่อว่า ตาสี ได้ออกมาหาปลาที่ทุ่งป่าได้เตรียมอุปกรณ์ประเภทตะค่องที่สานด้วยไม้ไผ่มาหาปลาในป่าใหญ่แห่งนี้ และตาสี ผู้นี้ได้เกิดกหลงป่าแห่งนี้ ซึ่งป่าทุ่งใหญ่จะมีต้นไม้หนา รก และทึบมาก จากนั้นตาสี ได้พักค้างคืนอยู่ที่ป่าทุ่งใหญ่แห่งนี้ ชาวบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านเห็นตาสี หายไป จากนั้นชาวบ้านได้ช่วยกันออกตามกาตาสีที่ทุ่งป่าใหญ่แห่งนี้จนพบ จากนั้นตาสีจึงได้เห็นที่ทำเลทุ่งป่าใหญ่แห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์ จึงได้ชักชวนชาวบ้านที่ออกตามหาได้มาตั้งลกรากในทุ่งป่าใหญ่แห่งนี้จึงได้เรียกชื่อว่าหมู่บ้านตาสี หลง และทายาทรุ่นสู่รุ่นได้เรียกชื่อเพียนไปจนเรียกชื่อหมู่บ้านทุ่งสีหลง จวบจนปัจจุบัน ในการทำตะค่องยักษ์ ได้สื่อความหมายอัตลักษ์ ของท้องถิ่นของหมู่บ้านทุ่งสีหลง ที่ตาสีมาหลงป่าทุ่งใหญ่พร้อมตะค่องติดตัวมา จึงได้ทำตะค่องยักษ์เป็นเอกรักษ์ของหมู่บ้านแห่งนี้ ทำสืบต่อกันมารุ่นสู่รุ่น และคนในหมู่บ้านก็ได้มีกลุ่มสานตะค่องในหมู่บ้านที่ยังอนุรักษ์เครื่องมือในการหาอาหารของคนสมัยก่อนและยังมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน

นายสายพาน คำกงลาด อายุ 64 ปี 115 ม.13 ต.ลำเหย อ.ดอนตูม จ.นครปฐมหัวหน้า กลุ่มจักสานอนุรักษ์สานตะค่อง เล่าอีกว่าพ่อ-แม่ ก็สานตะค่องมา และมาถึงรุ่นตนเองเริ่มสานตะค่องมาตั้งแต่สมัย พ่อ-แม่ยังมีชีวิตอยู่ เพราะตะค่อง เป็นประวัติของหมู่บ้าน จึงได้คิดและปรึกษานายก จำปี และผู้ใหญ่ นนท์ พร้อมทั้งชาวบ้านว่าในหมู่บ้านของเราน่าจะทำตะค่องยักษ์เอาไว้เพื่อเป็นเอกรักษ์ของหมู่บ้าน เมื่อมีแขกมาเยือน หรือใครป่านไปมาเมื่องเห็นตะค่อวยักษ์ก็จะต้องนึกถึงหมู่บ้านทุ่งสีหลงแห่งนี้ ในการสานต้องค่องใช้เวลาในการสานประสาณ 10 วันใช้วัสดุเป็นไม้ไผ่สีสุกซึ่งหาได้ในชุมชน ก่อไป่จะขึ้นมาหลายพื้นที่ในหมู่บ้านใช้ไม้ไผ่สีสุกลำใหญ่ๆประมาณ 35 ลำ ตะค่องใหญ่ทางหมู่บ้านก็จะสร้างเอาไว้เป็นพิพิภัณจำนวน 1 ชุดเก็บไว้ให้เยาวชนรุ่นหลังไว้ดํและศึกษาประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน ทุ่งสีหลง ความเป็นมาของตะค่อง และก็จะทำขึ้นมาใหม่อีก 1 ชุดจะนำไปตั้งไว้ที่หน้าหมู่บ้านทุ่งสีหลงซึ่งติดถนนสายดอนตูม-หนองปลาใหล อีกด้วย

ปนิทัศน์ มามีสุข นส.ปณิดา มามีสุข จ.นครปฐม

Loading