วันพฤหัสบดี, 18 เมษายน 2567

อธิบดีกรมทรัพยากรนำ้!!ตรวจเยี่ยมการบริหารจัดการนำ้ในพื้นที่ราชบุรี”

อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ตรวจเยี่ยมการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ จ.ราชบุรี

วันที่ 1 พ.ย.61) นายสุวัฒน์ เปี่ยมปัจจัย อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ได้เดินทางตรวจเยี่ยมสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 7 ตั้งอยู่ ต.ห้วยไผ่ อ.เมือง จ.ราชบุรี เพื่อรับฟังบรรยายสรุปแผนการบริหารจัดการระบบน้ำในพื้นที่อ่างเก็บน้ำของ อ.บ้านคา อ.จอมบึง จ.ราชบุรี และ จ.กาญจนบุรี ซึ่งมีนายเวสารัช โสภณดิเรกรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 7 กล่าวบรรยายสรุปความเป็นมาและผลการดำเนินการในพื้นที่รับผิดชอบ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ในการพัฒนาอนุรักษ์ และฟื้นฟูแหล่งน้ำ สร้างระบบกระจายน้ำให้ประชาชนได้รับน้ำอย่างทั่วถึงในพื้นที่ราชบุรีและกาญจนบุรี

จากนั้นทางคณะได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูอ่างท่าเคย- ห้วยมะหาด พร้อมระบบกระจายน้ำ ตั้งอยู่หมู่ที่ 11 บ้านทุ่งมะลิคร้อ ต.หนองพันจันทร์ อ.บ้านคา โดยมีนายภคพัส ส่งวัฒนายุทธ นายอำเภอบ้านคา จ.ราชบุรี นายประนอม อาจคงหาญ กำนันตำบลหนองพันจันทร์ พร้อมชาวบ้านให้การต้อนรับพาเยี่ยมชมบริเวณอ่าง ซึ่งมีความจุประมาณ 4.3 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นโครงการที่กรมทรัพยากรน้ำเข้าไปสร้างท่อน้ำเพื่อกระจายน้ำจากอ่างเก็บน้ำท่าเคยลงสู่อ่างเก็บน้ำห้วยมะหาด ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน แก้ปัญหาภัยแล้ง บรรเทาอุทกภัย และยังช่วยส่งเสริมเกษตรกรรม

ทั้งนี้ นายสุวัฒน์ เปี่ยมปัจจัย อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ เปิดเผยการตรวจเยี่ยมพื้นที่ราชบุรีและกาญจนบุรี ซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 7 เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของอ่างพวง ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงอ่างเก็บน้ำหลายอ่างเข้าด้วยกัน เนื่องจากบางอ่างมีน้ำปริมาณมากมีน้ำเหลือ ถ้าปล่อยทิ้งไว้ก็อาจจะล้นและไปท่วมบ้านเรือนชาวบ้าน ท่วมพื้นที่การเกษตร เช่น ที่อ่างท่าเคย สำหรับปริมาณน้ำในอ่างที่เหลือจึงได้ดำเนินการเชื่อมโยงที่เหลือ โดยอ่างเก็บน้ำท่าเคยจะมีน้ำเหลือปีละประมาณ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงได้เชื่อมโยงไปที่อ่างเก็บน้ำอื่น ซึ่งปริมาณน้ำไม่พอเพียง เป็นการป้องกันภัยแล้ง และน้ำท่วมให้กับประชาชนในบริเวณอ่างพวงซึ่งอ่างพวงนี้ถือเป็นศาสตร์พระราชาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรามหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เป็นการเอาน้ำจากอ่างที่มีความจุมากไปหาอ่างเก็บน้ำที่มีความจุดน้อย เป็นการแก้ปัญหาอุทกภัย และภัยแล้งได้เป็นอย่างดี อย่างที่อ่างเก็บน้ำห้วยมะหาดมีการเชื่อมโยงกับอ่างเก็บน้ำท่าเคย ซึ่งจะมีประชาชนที่รับประโยชน์จากการเชื่อมโยงอ่างเก็บน้ำมีกว่า 50,220 กว่าครอบครัว ส่วนใหญ่ทำการเกษตร ปลูกสับปะรด อ้อย และพืชอื่นๆที่เป็นรายได้หลัก ส่งผลให้เกษตรกรมีน้ำใช้ตลอดปี

ซึ่งถือเป็นการบริหารจัดการน้ำที่ร่วมมือกันระหว่างกรมทรัพยากรน้ำกับกรมชลประทาน ในการบูรณาการทำงานร่วมกัน ระหว่าง อ่างเก็บน้ำห้วยสำนักไม้เต็ง อ่างเก็บน้ำชัฏป่าหวาย อ่างเก็บน้ำบ้านหินสี เป็นอ่างเก็บน้ำที่กรมชลประทานได้สร้างไว้ โดยทางกรมทรัพยากรน้ำได้มาทำระบบเชื่อมโยงน้ำระหว่างอ่างต่อกันเพื่อเป็นการผันน้ำให้ประชาชนที่อยู่รอบอ่างในพื้นที่ดังกล่าวได้มีน้ำกินน้ำใช้ ไม่มีน้ำท่วม ไม่มีภัยแล้ง สามารถทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปีประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น

 

สุจินต์ นฤภัย (เต้)

Loading