วันศุกร์, 29 มีนาคม 2567

ราชบุรี!!วางมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา”สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5“

จ.ราชบุรี วางมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหาสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5

วันที่ 23 ม.ค.62) ที่ห้องประชุมหลวงยกกระบัตร ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดราชบุรี อ.เมือง จ.ราชบุรี นายวีรัส ประเศรษโฐ
รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี พร้อมด้วยนายปิยะ พรหมสถิต ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 4, นายสุริยะ คูหะรัตน์
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดราชบุรี และนายประกอบ คงเขียว อุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี ได้ร่วมแถลงการวางมาตรการการ
ป้องกันและแก้ไขปัญหาสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 โดยมีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง พร้อมผู้สื่อข่าวทุกแขนงเข้า
ร่วมรับฟังการวางมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ทั้งนี้ตามที่จังหวัดราชบุรีได้จัดประชุมติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2562 พบ
ว่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศเกินมาตรฐาน (50ไมโครกรัม/ลบ.ม.) อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยฝุ่น
ละอองเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงยานพาหนะ กระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม การเผาในที่โล่ง เช่น เผาวัสดุการเกษตร
เผาขยะ รวมถึงไฟป่า เกิดจากการก่อสร้าง เช่น การสร้างอาคาร การวางท่อ การก่อสร้างถนน

โดยทางจังหวัดราชบุรีได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาด
เล็ก ได้แก่ 1.การวางมาตรการเชิงพื้นที่ เช่นพื้นที่ป่าสงวน/ป่าอนุรักษ์ ให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง
แวดล้อมในพื้นที่เป็นหน่วยรับผิดชอบในการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการควบคุมไฟป่าโดยจัดทำแนวป้องกัน
ไฟ การจัดกำลังลาดตระเวนให้สนธิกำลังเจ้าหน้าที่จากทุกหน่วยและอาสาสมัครภาคประชาชน บังคับใช้กฎหมายในพื้นที่ห้ามเผา
พร้อมทั้งบูรณาการประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานทหารและกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่อย่างใกล้ชิด เพื่อร่วม
ปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาไฟป่า ตลอดจนให้ผู้นำท้องที่ กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน สร้างกฎกติกาการห้ามเผาป่าขึ้นมาบังคับใช้กันเองใน
หมู่บ้าน/ชุมชน และจัดทำบัญชีผู้มีพฤติกรรมการเข้าป่าเพื่อหาของป่าและล่าสัตว์

พื้นที่เกษตรกรรม ให้อำเภอหน่วยสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่เป็นหน่วยรับผิดชอบในการบูรณาการ
ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการควบคุมการเผาในพื้นที่เกษตร การห้ามเผาเด็ดขาด และการรณรงค์ให้มีการใช้สารย่อย
สลายหรือไถกลบตอซังข้าว/ข้าวโพด/ซากวัชพืชฤดูแล้งและการแปรวัสดุการเกษหตรเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น การทำสารชีวมวล
การทำปุ๋ยหมัก การทำอาหารสัตว์ ตลอดจนให้ผู้นำท้องที่ กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน จัดอาสาสมัครเฝ้าระวังไม่ให้เกษตรกรลักลอบเผา

พื้นที่ชุมชน/เมืองให้จังหวัด อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดกฎกติการ่วมกันชอบชุมชน โดยใช้กลไก
ประชารัฐในการเฝ้าระวังป้องกันการเผาในพื้นที่ชุมชน/เมืองและให้จัดชุดปฏิบัติการประจำตำบล/หมู่บ้าน เข้าร่วมประชุมชี้แจง
กับคณะกรรมการหมู่บ้าน และประชาชนในพื้นที่เพื่อให้ทราบมาตรการและแนวทางดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า
และหมอกควันของจังหวัด

พื้นที่ริมทางให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคมในพื้นที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการบูรณาการร่วมกับหน่วย
งานต่าง ๆ ดำเนินการจัดกำลังอาสาสมัครภาคประชาชนทำการลาดตระเวน เฝ้าระวังและกำจัดวัสดุ ขยะ ใบไม้แห้งที่เป็นเชื้อ
เพลิงในพื้นที่ริมทาง เพื่อไม่ให้มีเชื้อไฟและใช้เป็นแนวกันไฟ

ให้อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดกิจกรรมรณรงค์ สัปดาห์ป้องกันและควบคุมฝุ่นละออง สร้างความรู้
ประชาชนเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ

2.การวางมาตรการแก้ไขปัญหาการเผาไหม้เชื้อเพลิงจากยานยนต์ให้สำนักงานขนส่งจังหวัด เข้มงวดในการตรวจ
ควันดำของรถยนต์ทุกประเภท ทั้งในส่วนที่ขนส่งดำเนินการเองและตรอ.ดำเนินการ

3.การวางมาตรการแก้ไขปัญหาการเผาไหม้เชื้อเพลิงและฝุ่นละอองจากกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมให้สำนัก
งานอุตสาหกรรมจังหวัดเข้มงวดในการตรวจสอบการปล่อยควันของโรงงานอุตสาหกรรมให้อยู่ในมาตรฐานของกฏหมาย และ
ตรวจกองวัสดุในโรงงานอุตสาหกรรมที่อาจแพร่กระจายฝุ่นได้ พร้อมทั้งให้จัดทำสิ่งป้องกันเพื่อไม่ให้ฝุ่นแพร่กระจาย

4.การวางมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองในพื้นที่ก่อสร้าง ให้โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดทางหลวงแผ่นดิน ทาง
หลวงชนบท องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่มีโครงการก่อสร้าง ดำเนินการควบคุม กำชับให้ผู้รับจ้างจัดให้มีสิ่ง
ป้องกันการกระจายของฝุ่นตามกฎหมาย

5.ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดรถฉีดน้ำทำความสะอาดอาคาร สถานที่ ถนน และพื้นที่สาธารณะที่รับผิดชอบ
เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองที่จะกระจายอยู่ในอากาศ

6.ให้สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัด ประสาน อสม. ฝึกทำหน้ากากป้องกันฝุ่นละอองแบบง่าย ๆ

ส่วนทางด้านสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี ได้เร่งกำชับให้ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมที่อยู่ในความรับผิด
ชอบ กำหนดมาตรการและปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน
(PM2.5) ที่มีสาเหตุจากกระบวนการอุตสาหกรรม รวมทั้งให้ทำการสำรวจการประกอบกิจการอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยง อันอาจ
เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาดังกล่าว และเข้าตรวจสอบกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะโรงงานที่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง เช่น โรงงาน
ที่มีหม้อไอน้ำโดยใช้เชื้อเพลิงแข็งเป็นเชื้อเพลิง และโรงงานที่กระบวนการผลิตที่ก่อให้เกิดฝุ่นในปริมาณมาก เช่น โรงโม่หิน โรง
งานผลิตแอสฟัลท์ติก โรงงานผลิตคอนกรีตสำเร็จรูปเพื่อการก่อสร้าง เป็นต้น และหากตรวจพบการดำเนินกิจการมีการปล่อย
มลพิษทางอากาศเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดจะดำเนินคดีอย่างเด็ดขาดต่อไป

สำหรับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรีให้ข้อมูลด้านสุขภาพ PM2.5 เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน
ขนาดเล็กประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผม ขนจมูกไม่สามารถกรองได้ ฝุ่นละอองดังกล่าวสามารถแพร่
กระจายสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมกระบวนการทำงานในอวัยวะต่าง ๆ เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งสาเหตุ
หลักมาจากการเผาไหม้ในที่โล่งแจ้ง การจราจรหนาแน่น ควันดำจากท่อไอเสีย เป็นต้น มีผลต่อสุขภาพประชาชน โดยเฉพาะ
กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็ก (อายุ 0-5 ปี) ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วย
เรื้อรัง

ทั้งนี้ผลกระทบต่อสุขภาพหากได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในระยะเฉียบพลันกลุ่มคนปกติจะมีอาการระคาย
เคืองทางเดินหายใจ ระคายเคืองเยื่อบุตา น้ำตาไหล คันตา ขณะที่กลุ่มเสี่ยงจะมีอาการถ้าเป็นหอบหืด ก็จะมีอาการหอบมากขึ้น
ถ้ามีอาการทางโรคหัวใจจะแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก ในระยะยาว ถ้ามีการสะสมฝุ่นละอองขนาดเล็กสะสมมากๆ เป็นเวลานาน
อาจก่อให้เกิด โรคมะเร็งได้

นายวีรัส ประเศรษโฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ได้กล่าวว่า.. วิธีการป้องกันและแนวทางการปฏิบัติ ควรหลีกเลี่ยง
ในการออกไปสถานที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 หากจำเป็นต้องออกไปนอกบ้านประชาชนทั่วไปให้สวมหน้ากาก
อนามัยทั่วไป แต่กลุ่มเสี่ยงต้องใช้หน้ากากอนามัย N95 ซึ่งหาซื้อได้ในร้านขายยา หรือร้านสะดวกซื้อ แต่ช่วงนี้ N95 ขาดตลาด
จะหาซื้อได้ยาก ดังนั้นหากไม่จำเป็นกลุ่มเสี่ยงควรเลี่ยงออกจากบ้าน จากงานวิจัยว่าการใส่หน้ากากอนามัยแบบธรรมดาแล้วนำ
กระดาษทิชชู มาซ้อนอย่างน้อย 2-3 ชั้นนั้น เป็นการป้องกันผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดเล็กPM2.5 ในเบื้องต้น แต่ความ
สามารถในการใช้งานอาจไม่เทียบเท่า N95 ซึ่งใช้กับประชาชนทั่วไปได้ แต่กลุ่มเสี่ยงต้องใช้หน้ากากอนามัย N95

อย่างไรก็ดีข้อมูลจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 8 ราชบุรี ช่วงวันที่ 1 – 20 มกราคมที่ผ่านมา จากการตรวจวัด
คุณภาพอากาศอัตโนมัติ บริเวณสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 8 ต.หน้าเมือง อ.เมืองฯ จ.ราชบุรี ประสบกับภาวะคุณภาพอากาศ
อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 8 ได้นำข้อมูลย้อนหลังค่า PM 2.5 รายชั่วโมง จากเว็บไซต์
“รายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศประเทศไทย” (http://air4thai.pcd.go.th) มาวิเคราะห์ แนวโน้มคือช่วงเวลาห้าทุ่มถึง
เที่ยงคืนจะมีปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 สูงสุด แล้วจะค่อยๆลดลง จะมีปริมาณต่ำสุดช่วงเวลา 15.00 – 17.00 น. แล้วจะค่อยๆมี
ปริมาณสูงขึ้นจนถึงห้าทุ่มอีกครั้ง

สุจินต์ นฤภัย (เต้)

Loading