วันเสาร์, 20 เมษายน 2567

ผู้ว่าฯรุดตรวจโรงผลิตไฟฟ้า”

ราชบุรี ผู้ว่ารุดตรวจโรงผลิตไฟฟ้า และประชุมผู้ประกอบโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดราชบุรี

วันที่ 30 ม.ค.62) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า… วันที่ 29 ม.ค. ช่วงเวลา 10.00 น. นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
พร้อมด้วยสิ่งแวดล้อมจังหวัดราชบุรี อุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี ปภ.จังหวัดราชบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจเยี่ยมโรง
ไฟฟ้า บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด มีนายธนบดี ปทุมรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด คอยให้การ
ต้อนรับ พร้อมทั้งให้ทางเจ้าหน้าที่บรรยายสรุปขบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า และตรวจสอบค่ามาตราฐานคุณภาพของฝุ่นละออง
ทางอากาศจากเครื่องวัด และให้ตรวจสอบการผลิตกระแสไฟฟ้าในกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานก๊าซธรรมชาติ ที่ได้จาก
ทางประเทศเพื่อนบ้าน

ทั้งนี้นายสุทธิชัย สุรนารถ ผู้จัดการส่วนความปลอดภัยสิ่งแวดล้อมและความเสี่ยง ได้เปิดเผยว่า.. ขบวนการผลิตของ
โรงไฟฟ้าได้มาตราฐานอุตสาหกรรม ในการผลิตไฟฟ้าทางบริษัทได้ใช้ก๊าซธรรมชาติจากทางประเทศเพื่อนบ้านเป็นเชื้อเพลิงใน
การผลิตกระแสไฟฟ้า ไม่ได้ใช้น้ำมันเตา ซึ่งจากกรณีที่มีประชาชนสงสัยว่ากลุ่มควันขาวๆที่ออกมาจากปล่องควันไฟของโรง
ไฟฟ้า แล้วลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าคืออะไร ซึ่งทางโรงไฟฟ้าราชบุรีขอยืนยันว่ากลุ่นควันนั้นคือไอน้ำซึ่งเกิดจากการใช้น้ำหล่อนเย็นและ
ให้เกิดไอน้ำขึ้นไปบนอากาศ ยืนยันว่าไม่ใช่ควันจากการใช้น้ำมันเตา เพราะเนื่องจากได้หยุดใช้น้ำมันเตามากว่าหนึ่งปีแล้ว
เพราะไม่คุ้มค่าต่อำการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยการใช้ก๊าชธรรมชาติจากประเทศเพื่อนบ้านนั้น มีต้นทุนที่ถูกกว่ามากในการผลิต
ไฟฟ้า

จากนั้นช่วงเวลา 13.30 น. นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ได้เดินทางมายัง สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 8
เพื่อเป็นประธานเปิดประชุมกรณีจังหวัดราชบุรีได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 โดยทางจังหวัดราชบุรี ได้มอบ
หมายให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี ได้เชิญตัวแทนผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมภายในจังหวัดราชบุรี ที่มี
การใช้ระบบเผาไหม้ในกระบวนการผลิต ในการทำความเข้าใจและดำเนินจัดการกิจการในการผลิตให้เป็นไปตามเงื่อนไขท้าย
ใบอนุญาตโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมทั้งยังได้เชิญ นายอำเภอทั้ง 10 อำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อมอบหมายนโยบายใน
การบังคับใช้ด้วยกฎหมายอย่างจริงจัง เข้มข้น และเฉียบขาด ในการเผาทั้งโรงงานอุตสาหกรรม และการเผาจากการเกษตร

ทั้งนี้ นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ได้กล่าวว่า… ทางอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี ได้เชิญตัวแทนผู้
ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดราชบุรี ที่มีการเผาไหม้ในกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมสิ่งทอ,
อุตสาหกรรมโรงโอ่ง อุตสาหกรรมโรงโม่หิน หรือโรงงานน้ำตาล บริษัท SCG ที่ผลิตกล่องกระดาษ ลังกระดาษ ประมาณ 40 โรง
งาน มาประชุมกันที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 8 ซึ่งเป็นจุดที่มีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ซึ่งพบว่าค่า PM2.5 ของจังหวัดราชบุรี
จุดที่ตรวจวัด ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง มีค่า PM2.5 สูงมาโดยตลอด ซึ่งก่อนหน้านี้เราก็มีการออกปฏิบัติการรณรงค์ฉีดล้าง
ถนนผิวการจราจร เป็นการเปิดปฏิบัติการด้วยรถน้ำว่า 50 คัน และก็มีการฉีดพ่นละอองน้ำเข้าสู่ในบริเวณแหล่งชุมชน เพื่อดัก
จับฝุ่นละอองที่ปะปนอยู่ในอากาศ เพื่อเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศที่ไม่ค่อยดี

ซึ่งวันนี้ได้เรียนเชิญนายอำเภอทุกอำเภอมาเน้นย้ำด้วยว่า ขั้นตอนต่อไปนี้เราจะใช้การบังคับใช้ด้วยกฎหมายอย่าง
จริงจัง เข้มข้น และเฉียบขาด เพราะได้ถือว่ามีการประชาสัมพันธ์ประกาศแจ้งเตือนประชาชนไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเผาบนพื้นที่
เกษตร หรือว่าในกลุ่มของโรงงานอุตสาหกรรม ก็จะมีกการไปสุ่มตรวจสอบ โดยท่านนายอำเภอ ผู้นำท้องถิ่น และก็ทางศูนย์วิจัย
และเตือนภัยมลพิษกระทรวงอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมจังหวัดก็จะออกไปสุ่มตรวจสอบ ตามโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการ
ปล่อยควัน จากกระบวนการผลิต โดยไม่แจ้งล่วงหน้า เพราะเราถือว่าเตือนไปแล้ว เพราะต้องถือไปเป็นตามมาตรฐาน ที่อยู่ใน
เงื่อนไขท้ายใบอนุญาตโรงงานอุตสาหกรรม

ส่วนพี่น้องเกษตรกร ได้ประสานไปยังผู้นำท้องถิ่นว่า ทางราชการจะเอาจริงแล้ว ในการที่จะตรวจจับ เพราะว่าได้แจ้ง
เตือนเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว เพื่อรักษาคุณภาพอากาศบริสุทธิ์ให้กับคนราชบุรี ส่วนใหญ่ที่เขาไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย เขาไม่ได้
เป็นผู้ก่อมลพิษก็ไม่ควรที่จะมารับเคราะห์กรรมจาก การประกอบกิจการต่างๆ เพราะฉะนั้นก็พยายามหลีกเลี่ยงและลด การเผา
หรือการก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ช่วยกันคนละไม้ละมือคิดว่าคุณภาพอากาศของราชบุรีคงจะดีขึ้นอย่างทันตาเห็น เพราะ
หลังจากที่เราเริ่มการรณรงค์เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว ค่า PM2.5 ก็เริ่มลดต่ำลงเรื่อย และคิดว่าประกอบกับวัน 30 ม.ค. เป็นต้นไป
ความกดอากาศสูง ก็จะลดลงจะช่วยให้การกระจายตัวของมวลอากาศบริเวณผิวพื้นดิน น่าจะเป็นไปด้วยดีขึ้น ก็จะช่วยให้
คุณภาพอากาศน่าจะดีขึ้นไปด้วย

ก็ต้องเรียนว่ามีการตั้งจุดตรวจวัดค่าอากาศ PM2.5 ที่อนามัยที่ 5 ห่างจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 8 ห่างเพียงแค่ 1
กิโลเมตร ปรากฏว่าค่าคุณภาพอากาศ PM2.5 ที่วัดได้ต่ำกว่ามาตรฐานกรมมลพิษเพียง 47 จากค่ามาตรฐาน 50 ซึ่งห่างเพียงแค่ 1
กิโลเมตร คุณภาพอากาศต่างกันเลย เพราะจากเดิมนั้นเรามีสถานีวัดค่าคุณภาพอากาศเพียงสถานีเดียว ซึ่งตอนนี้ได้มอบหมาย
ให้ ปภ.จังหวัด รวมกับอนามัยที่ 5 ได้ทำงานร่วมกันในการวางมาตรการสุ่มตรวจจับค่าอากาศ ทั้งอีก 9 อำเภอ เพื่อหาว่าบริเวณ
โซนใดจุดใดของพื้นที่อำเภอนั้นคุณภาพอากาศแย่และเราจะได้กำหนดจุดแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษอย่างแน่นอน และแน่ชัด และ
ยังให้มีการตรวจสอบไปยังเว็บไซต์ของ gistda(http://fire.gistda.or.th/) ดูว่าจุด Hotspot หรือจุดเผาไหม้ มันเกิดที่จุดไหนเพื่อจะ
ให้ทางเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินนำไปสู่การจับกุมและดำเนินคดี อันนี้ก็ฝากประชาชนทุกท่านด้วยว่า ต้องมีการร่วมไม้ร่วมมืออย่าง
จริงจัง

นอกจากนี้ได้มีการรณรงค์ทุกวันอยู่แล้ว ว่าอย่าเผาแม้ขยะให้เก็บรวบรวมไว้และนำไปทิ้งในจุดที่ทางเทศบาล หรือ
องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดเตรียมไว้ให้ ในส่วนของการก่อสร้างถนนหนทาง ทางแขวงกลางทางและทางกรมโยธาธิการ ก็
ขอให้ความร่วมมือให้ โครงการก่อสร้างต้องมีการล้อมผ้าใบ ส่วนทำถนนทางลูกรังให้มีการโปยน้ำให้บ่อยขึ้น

สุจินต์ นฤภัย (เต้)

Loading