วันเสาร์, 27 เมษายน 2567

รมต.ช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ!!ประชุมติดตามโครงการขับเคลื่อนค่ายพัฒนาเพื่อการเรียนรู้”สังคมพหุวัฒนธรรม”

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประชุมติดตามโครงการขับเคลื่อนค่ายพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ สังคมพหุวัฒนธรรม ในพื้นที่ชายแดนใต้

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.45น.ห้องประชุม AL-Aiyubi ชั้น 5 วิทยาลัยอิสลามศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี ศูนย์สันติวิธี กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า จัดประชุมคณะที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานโครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของมหาวิทยาลัย,วิทยาลัยและหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรมและการพัฒนามนุษย์ครั้งที่ 1 ประจำปี 2562 โดยมี พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล/รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วย คณะผู้แทนพิเศษของรัฐบาล, ผู้บริหารสถานศึกษา, คณาจารย์, นักวิชาการ และหน่วยงานต่างๆ ร่วมประชุมในครั้งนี้

พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาล/รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่าการจัดทำบันทึกความเข้าใจในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของมหาวิทยาลัย, วิทยาลัย และหน่วยงานภาครัฐ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม และการพัฒนามนุษย์ โดยใช้กลไก และบทบาทเวทีทางวิชาการส่งเสริมผลักดันให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ สร้างความรู้ความเข้าใจ และสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนในเรื่องพหุวัฒนธรรม ให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ด้วยกระบวนการทำงานแบบบูรณาการ และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายตามบันทึกความเข้าใจ MOU ทั้งกระบวนการจัดการความรู้ ความเข้าใจ แก่เยาวชน นักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆอย่างต่อเนื่อง และเห็นผลเป็นรูปประธรรมชัดเจนคือ การดำเนินงานจัดโครงการขับเคลื่อนค่ายพัฒนาเพื่อการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษา และจัดโครงการขับเคลื่อนค่ายพัฒนาเพื่อการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรมระดับอุดมศึกษา ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว หากสถาบันการศึกษา สามารถนำผลการดำเนินการไปปรับใช้ในสถาบันการศึกษาของตนเอง จะส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อพื้นที่เป็นอย่างยิ่ง เพราะการสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องสังคมพหุวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของความหลากหลายให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับรู้ นับเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะจะทำให้ช่วยลดการแบ่งพวกแบ่งฝ่าย และจะเกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขไป


ทั้งนี้เนื่องจาก มหาวิทยาลัย สถาบันการอาชีวศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลมีฐานะบทบาทด้านเวทีทางปัญญา และแหล่งความคิดชี้นำสังคมโดยอาศัยหลักแห่งความเป็นเลิศแห่งความรู้ และวิทยาการ มีความสำคัญในฐานะพื้นที่กลางทางความคิดในการขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่รู้ และสร้างความเข้าใจต่อประเด็นปัญหาทั้งหลายที่ดำรงอยู่ ที่คุกคามความมั่นคง และความผาสุกของสังคมส่วนรวม มีบทบาทสร้างปัญญาชน และคนดีสู่สังคมที่จะทำให้สังคมพัฒนาสู่ความก้าวหน้าภายใต้วิถีแห่งสังคมพหุวัฒนธรรม และความหลากหลาย มุ่งเน้นการพัฒนาเยาวชนที่มีจิตใจเปิดกว้างมีความรอบรู้มีคุณธรรมมีความสามารถและมีจิตอาสาที่คำนึงถึงประโยชน์สุขของเพื่อนมนุษย์

Loading