วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

นายภิญโญ ประกอบผล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เป็นประธานในงาน พระบิดามาตรฐานการช่างไทย “เนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ

               เมื่อวันที่  2  มีนาคม  2562  นายภิญโญ  ประกอบผล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานองค์กรเอกชน ร่วมถวาย    เครื่องราชสักการะ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย  เนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2562 ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน       อย่างหาที่สุดมิได้  ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 16 นครปฐม ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม

นับย้อนหลังเมื่อ 49 ปี ที่ผ่านมา ในวันที่ 2 มีนาคม 2513  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงานแนะแนวอาชีพ และแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ณ ลุมพินีสถาน ทรงพระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับการช่างไทย  ความตอนหนึ่งว่า “ช่างทุกประเภท เป็นกลไกสำคัญอย่างยิ่งในชีวิต    ของบ้านเมือง และของทุกคน เพราะตลอดชีวิตของเรา เราต้องอาศัยและใช้บริการหรือสิ่งต่าง ๆ  ที่มาจากฝีมือ ของช่าง         อยู่ทุกวี่ทุกวัน ผู้เป็นช่างจึงสมควรได้รับความเอาใจใส่สนับสนุนจากทุก ๆ ฝ่าย ยิ่งในสมัยปัจจุบัน วิทยาการทุกอย่างเจริญก้าวหน้ายิ่งจำเป็นต้องส่งเสริมมากเป็นพิเศษ  เพื่อให้ได้ช่างที่มีความสามารถสูง ให้มีสิ่งใช้สอยที่มีคุณภาพดี และเพียงพอกับความต้องการ ในการส่งเสริมนั้นมีปัญหาอันควรจะได้พิจารณาช่วยเหลืออยู่ 3 ประการ  ประการแรก ได้แก่ปัญหาเรื่องการให้ความรู้ ทางหลักวิทยาการ และความรู้ทางการออกแบบ  ประการที่สอง ได้แก่ปัญหาเรื่องฝีมือ ซึ่งต้องปรับปรุงให้มีความประณีต และมีประสิทธิภาพได้มาตรฐานจริง ๆ  ประการที่สาม ได้แก่ปัญหาเรื่องการจัดหางาน          และหาตลาด เพื่อช่วยให้ช่างได้มีงานทำ มีตลาด ที่จะส่งสินค้าที่ผลิตได้ไปจำหน่ายการช่วยเหลือทั้งสามประการนี้        จะต้องกระทให้สอดคล้องกันไปเพื่อให้ช่างมีรายได้และผลกำไร สำหรับนำมาเป็นทุนรอนสร้างฐาน และความก้าวหน้า  ข้าพเจ้าใคร่ขอฝากความคิดทั้ง ๓ ประการนี้ไว้เป็นแนวทางปฏิบัติของท่านทั้งหลายต่อไป”

จากกระแสพระราชดำรัสดังกล่าว  สะท้อนให้เห็นถึงสายพระเนตรอันยาวไกลที่มีพระราชดำริถึงความสำคัญของช่างฝีมือ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อทุกคนในสังคมจึงจำเป็นต้องพัฒนาให้มีฝีมือตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพราะนั่นหมายถึงคุณภาพของสินค้าและบริการ  ตลอดจนความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อประเทศไทยแม้จะพระราชทานไว้เป็นเวลาผ่านมาถึง 49 ปี  แล้ว  ยังคงทันสมัยอยู่เสมอ  และนับวันจะทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น  ซึ่งกรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้น้อมนำ     ใส่เกล้ามาปฏิบัติในการพัฒนากำลังแรงงานให้มีฝีมือพัฒนาสู่มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สร้างมูลค้าเพิ่มทั้งด้านการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศสร้างการยอมรับในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมโลก

และในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติถวายพระราชสมัญญาแด่พระองค์ท่านให้เป็น “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย”  พร้อมกำหนดให้วันที่ 2 มีนาคม ของทุกปี  เป็นวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ

นางสาวชนิดา  พรหมผลิน

​​​​​​​​​ ผู้สื่อข่าวนิวส์รีพอร์ต   รายงาน

​​​​​​​​​​​​

Loading