วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

ยโสธร!!รมชฯ เกษตรมอบใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์”

ยโสธร รมชฯเกษตรมอบใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์


วันที่ 28 มี.ค. 62 เวลา 10.00 น ณ วัดสิริมงคล หมู่ที่ 3 บ้านคำครตา ตำบลดงมะไฟ อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เดินทางมาเป็นประธานในพิธีมอบใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ยโสธรขั้นพื้นฐาน Yasothon Basic Organic Standard (Yaso BOS) จำนวน 18 ราย และใบรับรองมาตรฐานการตรวจรับรองแบบมีส่วนร่วม Participatory (Guarantee Systems (PGS) จำนวน 27 ราย พร้อมเปิดงานรับฟังการเสนอร่างมติสมัชชาเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดยโสธร จากตัวแทนภาคีเครือข่าย โดยมีนายนิกร สุกใส ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร เป็นผู้กล่าวต้อนรับ

สำหรับเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นระบบการทำการเกษตรในเชิงผสมผสานและเกื้อกูลกัน คำนึงถึงระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางชีวภาพ โดยหลีกเลี่ยงและปฏิเสธการใช้สารเคมีสังเคราะห์ ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อก่อให้เกิดความมั่นคงและความปลอดภัยต้านอาหาร สร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศน์ ซึ่งนำไปสู่การพึ่งพาตนเอง การมีภูมิคุ้มกันภายใต้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและผู้บริโภค รวมทั้งส่งผลให้ระบบเกษตรกรรมมีความเข้มแข็งและยั่งยืน โดยมีรูปแบบของเกษตรกรรมยั่งยืน เช่น เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ วนเกษตร เกษตรอินทรีย์ และเกษตรธรรมชาติ เป็นต้น

จังหวัดยโสธร เป็น 1 ใน 28 จังหวัดนำร่องในการขับเคลื่อนระบบเกษตรกรรมยั่งยื่น ที่มุ่งส่งเสริมการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นจังหวัดที่มียุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งกำหนดตำแหน่งการพัฒนาจังหวัดให้เป็นเมืองเกษตรอินทรีย์ที่ชัดเจน ด้วยความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ ตันทาง กลางทาง และปลายทาง อย่างเป็นรูปธรรม ปัจจุบันจังหวัดยโสธร มีพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน รวมทั้งสิ้น 258.858 ไร่ เกษตรกร 30,638 ราย ประกอบด้วย
1) เกษตรอินทรีย์ รวม 23,437 ราย พื้นที่ 223,980.75 ไร่
2) เกษตรผสมผสาน รวม 4,969 ราย พื้นที่ 18.566 ไร่
3) เกษตรทฤษฎีใหม่ รวม 2.232 ราย พื้นที่ 15.312 ไรj
4) วนเกษตร รวม 1,000 ไร่

การขับเคลื่อนระบบเกษตรกรรมยั่งยืนของจังหวัดยโสธร เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยความร่วมมือและบูรณาการในหลายภาคส่วน ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคเกษตรกร มีการจัดเวทีเสวนาร่วมกันทั้งในระดับพื้นที่, ระดับจังหวัด เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากตัวแทนภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน สร้างความตระหนักให้เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินกิจกรรม ด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เน้นให้เกษตรกรมีการพึ่งพาตนเอง ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และยังมีความสอดคล้องตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
โดยร่างมติสมัชชาเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดยโสธร มีดังนี้

1. สนับสนุนให้องค์กรเกษตรกรสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อปรับแนวคิด ความรู้ เทคนิค
ทักษะ ในการทำเกษตรกรรมยั่งยืนให้แก่เกษตรกร เกษตรกรรุ่นใหม่ อย่างครบวงจร และ
สร้างต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืน
2.สนับหนุนการพึ่งตนเองด้านปัจจัยการผลิตที่เอื้อต่อระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เช่น ที่ดิน
น้ำ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ปุ๋ย
3.ให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องสนับสนุนโอกาส ซ่องทาง ข้อมูล พื้นที่
ทางการตลาดสินค้าเกษตรกรรมยั่งยืน
4. สนับสนุนการมีส่วนร่วม และบูรณาการทุกภาคส่วนในการผลักดันเกษตรกรรมยั่งยืน
ผ่านการจัดงานสมัชชาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับจังหวัด อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
5. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีนโยบายส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน อย่างมีส่วนร่วมและ
บูรณาการในระดับพื้นที่
6.สนับสนุนให้ผู้บริโภคมีควานรู้ควานเข้าใจ เรื่องระบบเกษตรการมยั่งยืนและอาหารปลอดภัย
จากนั้นสนับสนุนให้มีการจัดตั้งองค์กรผู้บริโภค เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการเชื่อมโยงการผลิต
อาหารที่ปลอดภัย
7. ให้มีนโยบาย หรือแนวทางการป้องกันปัจจัยเสี่ยง และภัยคุกคามที่มีต่อระบบ
เกษตรกรรมยั่งยืน เช่น การใช้สารเคมีการเกษตร การส่งเสริมการปลูกพืชอุตสาหกรรมเชิงเดี่ยว
8. สนับสนุนการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวซ้อง เพื่อขับเคลื่อนการขยายผลเกษตรกรมยั่งยืน
ทุกระดับ เช่น การบรรจุหลักสูตรเกษตรกรรมยั่งยืนในโรงเรียนและสถานศึกษา
9. สนับสนุนการจัดทำฐานข้อมูลการผลิตและการจำหน่าย เกษตรกรรมยั่งยืน
เพื่อกำหนดนโยบายและวางแผนการสนับสนุนเกษตรกรรมยั่งยืน
10. ศึกษาวิจัยนวัตกรรมเกี่ยวกับเกษตรกรรมยั่งยืนอย่างครบวงจร เพื่อสื่อสารให้เกิดการรับรู้
แรงจูงใจ และความตระหนักต่อการขยายผลเกษตรกรรมยั่งยืน
ทั้งนี้การจัดสมัชชาเกษตรกรรมยั่งยืน มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้าใจกระบวนการสมัชชาเกษตรกรรมยั่งยืน ในการเสนอร่างมติสมัชชาเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดยโสธร นำไปสู่การส่งเสริมและพัฒนาต่อไป

Loading