วันเสาร์, 27 เมษายน 2567

โครงการโรงสีข้าวพระราชทานนราธิวาส”

โครงการโรงสีข้าวพระราชทานนราธิวาส จัดโครงการมนต์เสน่ห์สายสัมพันธ์พหุวัฒนธรรมชายแดนใต้ เผยแร่องค์ความรู้วิถีชีวิตชาวนาในชุมชนพหุวัฒนธรรมของพิพิธภัณฑ์โรงสีข้าวพิกุลทองแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ฤดูเก็บเกี่ยวข้าวฤดูปี 2562


ณ พื้นนาชุมชนตำบลเกาะสะท้อน และชุมชนตำบลพร่อน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส นายก่อพงศ์ โกมลรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นประธานเปิดงาน “มนต์เสน่ห์สายสัมพันธ์พหุวัฒนธรรมชายแดนใต้” กิจกรรมการเผยแพร่องค์ความรู้วิถีชีวิตชาวนาในชุมชนพหุวัฒนธรรมพุทธและมุสลิมของพิพิธภัณฑ์โรงสีข้าวพิกุลทองแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ฤดูเก็บเกี่ยวข้าวฤดูปี 2562 โดยมีประชาชน เด็กและเยาวชน ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่นและบุคลากรจากส่วนราชการ ทั้งภาคธุรกิจและองค์กรภาคประชาชนมาร่วมงานกว่า 1,000 คน
นายประภาศ มากทอง สหกรณ์จังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า วันที่ 2 เมษายน ของทุกปี ตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันอันเป็นมงคลนี้ พิพิธภัณฑ์โรงสีข้าวพิกุลทอง (โครงการโรงสีข้าวพระราชทานจังหวัดนราธิวาส) ได้จัดให้มีกิจกรรมสืบสานวิถีชีวิตชาวนาชายแดนใต้ เพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์ท่านที่ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์โรงสีข้าวพิกุลทองขึ้น ณ ชุมชนบ้านใหญ่ ต.พร่อน อ.ตาก จ.นราธิวาส โดยกิจกรรมในวันนี้มีประชาชนทั่วไปทั้งพุทธ-มุสลิม เด็ก เยาวชน บุคลากรจากส่วนราชการ ภาคธุรกิจ และองค์กรภาคประชาชนใน จ.นราธิวาส และพื้นที่ใกล้เคียงมาร่วมงานกว่า 1.000 คน โดยภายในงานได้จัดให้มีบรรยายพิเศษ “การทำนาบนเส้นทางแห่งความพอเพียงและหนทางในการสืบสานวิถีวัฒนธรรมข้าวชายแดนใต้ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน” การแสดงนิทรรศการและการแสดงผลผลิตเด่นในพื้นที่ กิจกรรมสานสัมพันธ์พี่น้องในสังคมพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้ เช่น การแข่งขูดมะพร้าว การแข่งแทงตัมใบกะพ้อ การแข่งทำข้าวต้มมัด ฯลฯ

โดยในงานดังกล่าว นายก่อพงศ์ โกมลรัตน์ ประธานในพิธีได้ร่วมกิจกรรมเก็บเกี่ยวข้าวแบบพื้นเมืองดั้งเดิมและขับรถเกี่ยวนวดข้าว เพื่อสื่อถึงการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยลดต้นทุนในการผลิตและดึงเยาวชนเข้าสู่ภาคการเกษตรในลักษณะของ Smart Farmer
โดยในอดีตวิถีชีวิตชาวนาได้รับการกล่าวขวัญยกย่องว่า “ชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ” ทุกข์ของชาวนา คือ ทุกข์ของแผ่นดิน ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 และในหลวงรัชกาลที่ 10 รวมถึงพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ได้ให้ความสนพระราชหฤทัยในชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวนาเรื่อยมา ดังเช่นที่ปรากฏเชิงประจักษ์แก่พวกเรา การที่พระองค์ได้พระราชทานโรงสีข้าวพิกุลทองให้พวกเราใช้ประโยชน์ร่วมกันในปัจจุบันแม้สังคมจะเปลี่ยนแปลงไป การทำนาไม่ใช่อาชีพที่ผู้คนปรารถนามากนัก ทุ่งนาค่อยๆเลือนหายไป แต่ก็ยังน่าภูมิใจที่พวกเราชาวชุมชนพื้นที่ตำบลเกาะสะท้อน และตำบลพร่อน หรืออีกหลายพื้นที่ในจังหวัดภาคใต้ชายแดนยังดำรงวิถีชีวิตชาวนาไว้อย่างเหนียวแน่น ทั้งยังได้เดินตามรอยพ่อบนหลักของความพอเพียง ท่านทั้งหลายยังมุ่งมั่นทำนาเพื่อเป็นรากฐานหล่อเลี้ยงครอบครัวให้สุขอย่างเพียงพอ และยิ่งกว่านั้นกิจกรรมในวิถีการทำนายังได้เป็นแบบย่างที่ดีในการสร้างสายสัมพันธ์และร่วมกิจกรรมต่างๆกันระหว่างพี่น้องสังคมพหุวัฒนธรรมให้กลมกลืนไปด้วยกันอย่างงดงามในความหลากหลายทางวัฒนธรรม ถือเป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นแบบอย่างแก่ชนรุ่นหลัง
ในส่วนการพัฒนาพื้นที่ของนายเอกรัฐ หลีเส็น นโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เพื่อนำเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 แผนปฏิบัติการเพื่อความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งแนวทางของกระทรวง กรมต่างๆมาดูแลพี่น้อง ได้กำหนดแนวทางดำเนินงานไว้ เป็น 7 วาระ เพื่อนำไปสู่ “นราน่าอยู่ อย่างยั่งยืน” ประกอบด้วย 1. นรา ตามรอยพ่อ ชีวิตพอเพียง เพื่อสุขพอเพียง 2.นรา สะอาด สิ่งแวดล้อมดี มีวินัย ใจสะอาด 3.นรา สะดวก ดูแล ใส่ใจ พร้อมให้บริการ 4. นรา สบาย เศรษฐกิจสมดุล อบอุ่น ทุกครัวเรือน 5.นรา ปลอดภัย ทุกแห่งหน คนปลอดภัย 6. นรา แบ่งปัน คนนรา ทุกวัยรวมใจแบ่งปัน และ 7.นรา รักสามัคคี สามัคคี คือ พลัง.

งกรอบแนวปฏิบัติเหล่านี้ เชื่อว่าจะนำไปสู่การ บำบัคทุกข์ บำรุงสุข ของพี่น้องประชาชน การสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ชาวนราธิวาสได้.

 

 

ภาพ/ข่าว ซาการียา ดอเลาะ จ.นราธิวาส

Loading