วันพฤหัสบดี, 28 มีนาคม 2567

ชาวไทยเชื้อสายเขมรและศิษย์”จากทั่วสารทิศร่วมสืบสานพระพุทธศาสนาบูชามหาปูชนียาจาร์ย

ชาวไทยเชื้อสายเขมรและศิษยานุศิษย์จากทั่วประเทศร่วมสืบสานพระพุทธศาสนาบูชามหาปูชนียาจารย์สรงน้ำเปลี่ยนผ้าไตร หลวงปู่สรวง” ปีที่ 19 ที่วัดไพรพัฒนา อ.ภูสิงห์


เมื่อวันที่ 7 เมษาย 2562 ที่วัดไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัศรีสะเกษ สมเด็จพระอัครมหาสังฆราชาธิบดี เทพวงศ์ พระสังฆราชประเทศกัมพูชา เป็นประธานสืบสานพระพุทธศาสนาบูชามหาปูชนียาจารย์สรงน้ำเปลี่ยนผ้าไตร“หลวงปู่สรวง” ปีที่ 19 โดยมีพระครูโกศลสิกขกิจ เจ้าคณะอำเภอภูสิงห์ ฝ่ายธรรมยุต พล.ต.อ.ดร.วิระชัย ทรงเมตตา รอง ผบ.ตร. และดร.กัลยาณี ธรรมจารีย์ นายกสมาคมส่งเสริมเครือข่ายการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วย นางชไมมาศ ชาติเมธากุล นำคณะศิษยานุศิษย์หลวงปู่สรวง ซึ่งส่วนมากเป็นชาวไทยตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ที่มีเชื้อสายเขมรโบราณจำนวนประมาณ 2,000 คน และพุทธศาสนิกชนจากทั่วประเทศ ประกอบพิธีสรงน้ำและเปลี่ยนผ้าไตรหลวงปู่สรวง อันเป็นที่เคารพบูชาของชาวไทยและกัมพูชา โดยเฉพาะชาวภาคอีสานตอนล่างที่มีเขตแดนติดต่อประเทศกัมพูชา โดยได้อัญเชิญสรีระสังขารที่ไม่เน่าเปื่อยของหลวงปู่ที่บรรจุอยู่ในโลงแก้วลงจากศาลา จากนั้นคณะศิษยานุศิษย์ร่วมกันแห่โลงแก้วรอบศาลาธม 3 รอบ ก่อนนำโลงแก้วเข้าไปภายในศาลาธม ประกอบพิธีเปลี่ยนผ้าไตรหลวงปู่สรวง ซึ่งมีคณะสงฆ์และประชาชนจำนวนมากร่วมกันสวดมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล

พระครูโกศลสิกขกิจ เจ้าคณะอำเภอภูสิงห์ กล่าวว่า ผ้าไตร ประกอบด้วย สบง จีวร อังสะ ผ้า 3 ผืนนี้ คณะสงฆ์วัดไพรพัฒนาได้ร่วมกันน้อมแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบูรพาจารย์ คือ หลวงปู่สรวง ซึ่งร่างกายหรือสังขารไม่เน่าเปื่อยสถิตในโลงแก้ว ซึ่งการเปลี่ยนผ้าเปรียบเสมือนการป้องกันและปกป้องร่างกายมิให้เป็นที่น่ารังเกียจ โดยอานิสงส์ของการถวายผ้าไตรจีวรนั้น เมื่อเกิดมาในภพภูมิใดจะมีเสื้อผ้าเครื่องอาภรณ์สวมใส่ ทั้งนี้ การเปลี่ยนผ้าไตรหลวงปู่สรวงดำเนินการโดยคณะศิษย์ผู้ใกล้ชิดที่เป็นชายเท่านั้น และปิดผ้าม่านอย่างมิดชิด ซึ่งการเปลี่ยนผ้าไตรนี้ได้ทำติดต่อกันมาปีนี้เป็นปีที่ 19 แล้ว แต่ละปีมีประชาชนและลูกศิษย์หลวงปู่สรวงจากทั่วประเทศมาร่วมพิธีกันจำนวนมาก เมื่อเสร็จพิธีจะนำโลงแก้วขึ้นไว้ที่เดิม เพื่อให้พุทธศาสนิกชนกราบไหว้บูชาต่อไป


พระครูโกศลสิกขกิจ เจ้าคณะอำเภอภูสิงห์ กล่าวต่อไปว่า หลวงปู่สรวง ชาวบ้านรู้จักกันว่าเป็นพระชาวกัมพูชา ที่อาศัยอยู่แถบชายแดนตามเชิงเขาพนมดงรัก เป็นผู้ทรงศีลปฎิบัติธรรม พักอาศัยอยู่ตามกระท่อมในไร่นาของชาวบ้าน และย้ายไปในที่ต่าง ๆ ตามแถบเทือกเขาฯ ซึ่งชาวบ้านทั่วไปจะเข้าใจท่านในฐานะผู้ทรงศีลที่มีคุณวิเศษ มีความเมตตาช่วยเหลือชาวบ้าน และเรียกขานว่า “ลูกเอาวเบ๊าะ” หรือ “ลูกตาเบ๊าะ” เป็นภาษาเขมร หมายถึงพระดาบส เป็นพระมักน้อย สันโดษ สมถะ มีอุเบกขาสูง เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวกัมพูชา รวมถึงชาวจังหวัดศรีสะเกษ และใกล้เคียง หลวงปู่สรวง ละสังขาร เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2543 แต่สังขารยังคงสภาพเดิม ศิษยานุศิษย์จึงได้นำสรีระสังขารหลวงปู่สรวงบรรจุในโลงแก้ว พร้อมสร้างมณฑปปราสาทให้เพื่อถวายเป็นกุศล และเป็นศูนย์รวมจิตใจ

ข่าว/ภาพ บุญทัน ธุศรีวรรณ ศรีสะเกษ

Loading