แม่สอด!!กรมป่าไม้ปูพรมปลูกป่า”มิยาวากิ 25,000 กล้าฟื้นฟูเหมืองผาแดง”

แม่สอด กรมป่าไม้ ปูพรมปลูกป่า มิยาวากิ 25,000 กล้า ฟื้นฟูเหมืองผาแดง


นางอำนวยพร ชลดำรงค์กุล รองอธิบดีกรมป่าไม้ เป็นประธานเปิดโครงการปลูกป่าเชิงระบบนิเวศ (มิยาวากิ) ครั้งที่ 2 เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ซุนจิ มูไร พร้อมคณะ Regreen Movement (RGM) ร่วมปลูกต้นไม้ที่มีดอกสีม่วงในแปลงปฐมฤกษ์ และปลูกต้นไม้ 25,000 ต้น ในรูปแบบ “มิยาวากิ” ร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐ และมวลชนในพื้นที่ชายแดน จังหวัดตาก กว่า 500 คน ร่วมฟื้นฟู บริเวณ พื้นที่เหมืองผาแดง ตามโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
นางอำนวยพร ชลดำรงค์กุล รองอธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า กรมป่าไม้

โดยสำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ ได้ร่วมกับสำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้น้อมนำแนวพระราชดำริในการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเหมืองผาแดง เมื่อครั้งทรงเสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ในพื้นที่ จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2559 ทรงมีพระราชดำรัสกับ นายอาสา สารสิน ประธานกรรมการ บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) คณะผู้บริหารกรมป่าไม้ และเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ณ บริเวณหน้าเรือนรับรองเหมืองผาแดง ในการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ป่าบริเวณเหมืองผาแดง โดยสำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ กรมป่าไม้

ร่วมกับสำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ ศาสตราจารย์ ดร.ซุนจิ มูไร ได้ร่วมปลูกป่าในโครงการปลูกป่าเชิงระบบนิเวศ หรือการปลูกป่าแบบมิยาวากิ ซึ่งเป็นแนวทางในการฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมให้กลับมามีสภาพทางนิเวศของสังคมป่า ให้คืนความอุดมสมบูรณ์โดยเร็ว โดยนำหลักการปลูกป่าแบบ “มิยาวากิ” ซึ่งเป็นแนวทางการปลูกป่าของ อาจารย์ชาวญี่ปุ่น ศ.ดร.อาคิระ มิยาวากิ ที่ประสบผลสำเร็จในการสร้างผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์มาแล้วมากกว่า 1,500 แห่งทั่วโลก โดยใช้พันธ์ไม้พื้นเมืองเป็นหลักในการปลูกและปลูกติดกันในรูปแบบธรรมชาติ

เพื่อให้มีสภาพคล้ายธรรมชาติและมีความหนาแน่นในการปลูก 3 – 4 ต้น ต่อตารางเมตร โดยทำการปลูกแบบสุ่มไม่เป็นแถวเป็นแนว เพื่อให้ต้นไม้มีการแข่งกันเจริญเติบโตเพื่อความอยู่รอด 3.) การใช้ฟางข้าวคลุมดินเพื่อเป็นการรักษาความชื้นช่วยเพิ่มอัตราการรอดให้สูงขึ้น

 

Loading