วันอังคาร, 16 เมษายน 2567

เรือประมงพาณิชย์กระบี่กว่า 100 ลำออกจับปลาวันแรกหลังปิดอ่าว 3 เดือน”

เรือประมงพาณิชย์กระบี่ กว่า 100ลำ ออกจับปลาวันแรกหลังปิดอ่าว 3เดือน แต่จับปลาได้ลดลง เนื่องจาก หน้ามรสุม คลื่นลมแรง พร้อมเรียกร้อง ให้ พิจารณาการประกาศปิดอ่าว แต่ละจังหวัด เนื่องจากส่งกระทบเรือประมงพาณิชย์ขนาดเล็ก


เมื่อกลางดึก คืนที่ผ่านมา นายพงศ์ศักดิ์ นิติธรกุล ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเขต3 กระบี่ พร้อมเจ้าหน้าที่5นาย นำเรือตรวจประมงทะเล327 ออกปฎิบัติงานควบคุมเฝ้าระวังการการประมงที่ผิดกฎหมายในเขตพื้นทีปิดอ่าวบริเวณ ด้านหน้า เกาะยาวาซัม ต.อ่าวนาง อ.เมือง กระบี่ ต่อเนื่องพื้นที อ.เกาะยาว จ. หลังเปิดอ่าววันแรก หลังเที่ยงคืนที่ผ่านมา ภายหลังกรมประมงประกาศปิดอ่าว ห้ามทำประมงในฤดูสัตว์มีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน เป็นเวลา3เดือน ตั้งแต่1เม.ย-30มิ.ย. พบเรือประมงพาณิชย์ ทั้งประเภทอวนล้อมจับ ประกอบเรือปั่นไฟ และ เรืออวนลากคู่ กำลังทำการประมง บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก


นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า จากการสำรวจการทำประมงของเรือประมงพาผณิชย์ ในบริเวณอ่าวกระบี่ เมื่อคืนที่ผ่านมาพบว่า จับสัตว์น้ำในทะเลได้ น้อย เมื่อเทียบกับวันเปิดอ่าวปีที่ผ่านมา อาจจะเป็นเพราะสัตว์น้ำยังไม่รวมตัวเป็นกลุ่มก้อน ประกอบกับมีการย้ายแหล่งหากินในบางจุด จึงยังไม่ได้ปลาและสัตว์น้ำเบญพรรณมากนัก และเชื่อว่าหลังจากนี้จะมีมากขึ้น เนื่องจากปลาเริ่มมีการรวมเป็นกลุ่มก้อน จากการที่เรือออกทำประมง
ขณะที่ พ่อค้าแม่ค้า จำนวนมาก เลือก ปลา สัตว์น้ำ เพื่อนำไปจำหน่ายต่อ จากเรือประมงที่กลับเข้าฝั่ง ที่ท่าเรือประมง ตำบลไสไทย อำเภอเมืองกระบี่ แต่จำนวน ปลาสัตว์ น้ำ ที่จับได้มีจำนวนไม่มาก ทำให้ราคา สัตว์น้ำบางชนิด ราคาเพิ่มสูงขึ้น

นายปภังกร บุญสพ หรือไต๋ทอง อายุ 44 ปี ไต๋เรือโชคกมลทิพย์ เปิดเผยว่า เมื่อคืนที่ผ่านมา นำเรือออกทำประมงในพื้นที่ สามารถจับ ปลา สัตว์ ต่าง ๆ ได้รวม ประมาณ 3 ตัน แม้ว่าจะเปิดอ่าวให้เรือประมง ออกทะเลทำประมงเป็นวันแรง หลังปิดมาเป็นระยะเวลา 3 เดือน แต่จับสัตว์ได้จำนวน ไม่มาก เนื่องจาก เข้าสู่หน้ามรสุม คลื่นลมแรง สำหรับมาตรการปิดอ่าว ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อ ผู้ประกอบการเรือประมงพาณิชย์ขนาดไม่เกิน 30 ตันกรอส เนื่องจากไม่สามารถออกทำประมง นอกเขตห่วงห้ามได้ ทำให้ขาดรายได้ จึงเรียกร้องให้กรมประมง พิจารณาการประกาศปิดอ่าว ช่วงปลาทู วางไข่เลี้ยงตัวอ่อน ของแต่ละจังหวัดเนื่องจาก ปลาทู เป็นปลาอพยพ มาจากพื้นที่อื่น ไม่เป็นปลาพื้นที่ ซึ่งขณะนี้พบว่ามีจำนวนน้อยมาก ในพื้นที่ ฝั่งอันดามัน

กระบี่//ณัฏฐพงษ์ ศรีปล้อง. รายงาน

Loading