วันอังคาร, 30 เมษายน 2567

ม.ราชภัฏชัยภูมิ”เป็นเจ้าภาพลงนามท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอัตลักษ์อีสานใต้”

ม.ราชภัฎฯชัยภูมิเป็น เจ้าภาพลงนามท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอัตลักษณ์อีสานใต้ “นครชัยบุรินทร์ศรีอุบล”


(2 ธ.ค.62) ดร.สุนันท์ สีพาย ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนา มร.ชัยภูมิ กล่าวว่า ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฎทั่วประเทศ ได้จัดทำข้อเสนอโครงการวิจัย เรื่อง “การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฎและภาคี” โดยได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมีผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาและนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งเข้ามาร่วมเป็นนักวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฎ “อีสานใต้” จำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ และมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี จึงได้ร่วมกันเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอทุนอุดหนุนการทำกิจกรรม ภายใต้ชื่อเรื่อง “การพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอัตลักษณ์อีสานใต้ “นครชัยบุรินทร์ศรีอุบล”” ซึ่งมีพิธีลงนามข้อตกลง (MOU) ทั้ง 6 มหาลัย โดย รศ.ดร.ศิริวัฒน์ โพธิเวชกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ (เจ้าภาพ)เป็นประธานลงนาม เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2562 ณ ห้องประชุมชั้น 9 อาคาร 9 มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ

 ั

รศ.ดร.ศิริวัฒน์ กล่าวว่า ถือว่าเป็นโอกาสดีของจังหวัดชัยภูมิ ที่ได้รับเป็นแกนกลางการทำวิจัย และพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว 6 จังหวัด อีสานใต้ เป็นต้นแบบท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นการจากเชื่องโยงการท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัดของอีสานใต้ และทำให้เกิดการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติ มีพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีระบบด้วยการทำวิจัยของสถาบันวิจัยฯมหาวิทยาลัยราชภัฏ 6 จังหวัด เป็นต้นแบบชุมชนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอัตลักษณ์อีสานใต้

ด้าน รศ.ดร. ชคัตตรัย รยะสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มร.นครราชสีมา กล่าวว่า จังหวัดนครราชสีมา เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อย่างเช่น ตำบลบ้านหมื่นไวย์ ซึ่งในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมา เมื่อนักท่องเที่ยวมากราบสักการะแม่ย่าโม ก็อยากจะมาท่องเที่ยวชุมชนแห่งนั้น อยากมาทานขนมจีนประโดก ที่ชุมชนได้สืบสานภูมิปัญญาชาวบ้านรุ่นสู่รุ่น และสิ่งสำคัญยังมีโบสถ์ 300 ปี มีพระธาตุสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และชุมชนยังคงดำรงชีวิตแบบชนบทที่ ที่ยังคงให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาและเข้าเที่ยวชม ทั้งนี้ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ก็จะได้ศึกษารวบรวมข้อมูลเชิงวิจัยและพัฒนาชุมชนแห่งนี้ ให้เป็นที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลถึงรายได้ของชุมชน จังหวัดและประเทศอีกด้วย
ส่วน ผศ.ดร. สหัสา พลนิล รองอธิการบดี มร.ศรีสะเกษ กล่าวว่า ในส่วนของ มร.ศรีสะเกษ กับการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอัตลักษณ์อีสานใต้ “นครชัยบุรินทร์ศรีอุบล” ที่เราดำเนินการก็คือ การท่องเที่ยวบ้านกู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ มีชนเผ่า “กุย” เป็นชนเผ่าอัตลักษณ์อีสานใต้ สามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี ขณะนี้ทาง มร.ศรีสะเกษ ได้ศึกษาและยกระดับผลิตภัณฑ์ของชนเผ่า เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนที่เชื่อมโยงอีสานใต้และภาคอีสานทั้งหมด

พร้อมกันนี้ น.ส.พรทิวา รบไพรี (ชาวไทย) นศ.ปีที่ 2 สาขาการท่องเที่ยวและบริการ มร.ชัยภูมิ ได้กล่าวถึงโครงการฯ ที่ทาง 6 มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันลงนามจัดทำขึ้นว่า เป็นโครงการที่ดีมาก ทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสเข้าร่วมศึกษาวิจัยค้นคว้าในภาคสนามด้านการท่องเที่ยวโดยตรง เป็นการศึกษาค้นคว้าเผยตัวตนของชุมชนที่มีอัตลักษณ์ประจำชุมชนอยู่แล้วนำออกมาให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชม และที่สำคัญทำให้นักศึกษาที่กำลังศึกษาเมื่อจบออกไปแล้วสามารถมีงานทำในชุมชนใกล้บ้านของตนเอง
และ Miss Tola Un (ชาวกัมพูชา) นศ.ปีที่ 2 สาขาการท่องเที่ยวและบริการ มร.ชัยภูมิ ก็ได้แสดงความเห็นถึงประโยชน์ของชุมชนที่มีนักวิจัยได้เข้ามาช่วยพัฒนาอีกทางหนึ่ง และที่สำคัญเป็นประโยชน์ต่อชุมชนที่จะมีนักท่องเที่ยวรู้จักเข้ามาเที่ยวชุมชนเป็นจำนวนมากขึ้นอีกด้วย

วิรัตน์ ดวงแก้ว จ.ชัยภูมิ รายงาน

Loading