วันเสาร์, 27 เมษายน 2567

รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยเพื่อต่อยอดทุน ทางวัฒนธรรม

          เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566  ที่ห้องประชุมทวารวดี 1  โรงแรมไมด้า แกรนด์ ทวารวดี จังหวัดนครปฐม 

 

นายชยชัย แสงอินทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยเพื่อต่อยอดทุน ทางวัฒนธรรม โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม โดยมี นางสาวสมลักษณ์ คล่องแคล่ว ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมงานวิจิตรศิลป์ (ทัศนศิลป์) ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เป็นผู้กล่าวรายงานในพิธีเปิดการอบรมฯ  พร้อมด้วยนางฐิติรัตน์ เรืองสังข์  วัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม นางสาวทิพวรรณ ไชยูปถัมภ์ พัฒนาการจังหวัดนครปฐม  นายจรินทร์ อิ้วสวัสดิ์ ท้องถิ่นจังหวัดนครปฐม นายประสิทธิ์ ปิ่มบุญ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครปฐม  นางสาวอรพร คัมภีรศาสตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นายชูโชค ชูเจริญ ผู้อำนวยการกองบริหารการกีฬา ท่องเที่ยวและศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นายสุรัฐกิจ พีรพงศ์ศิลป ผู้อำนวยการสำนักช่างสิบหมู่ ผศ.ดร.ปิยวรรณ ปิ่นแก้ว  ประธานหลักสูตรสาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ผศ.ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม ผศ.เอี่ยม ทองดี กรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม  ดร.จิตกวี กระจ่างเมฆ อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา  ประธานสภาตำบลห้วยด้วน อำเภอดอนตูม  นายมนัสศักดิ์ รักอยู่ นักวิชาการอิสระ  ดร.อนวัช  นกดารา  กรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม นายปัณฑัต กฤชชัยพฤกษ์ ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลไร่ขิง นางสาวจงดี เศรษฐอำนวย กรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอพุทธมณฑล นายเอกวิทย์ นวเศรษฐ ประธานการท่องเที่ยว ชุมชนคุณธรรมเทศบาลเมืองไร่ขิง (เกาะลัดอีแท่น) นางสาววันเพ็ญ สามเพชรเจริญ ปราชญ์อำเภอเมืองนครปฐม นายไชยวัฒน์ คุ้มเจริญ ปราชญ์อำเภอสามพราน นางสาวภัทธา รุ่งเรือง ปราชญ์อำเภอนครชัยศรี นางนัดดา เพชรคอน ปราชญ์อำเภอบางเลน นายวรุฒม์ มั่นพรม ปราชญ์อำเภอกำแพงแสน นางสาวสุพรรณิกา ปราชญ์อำเภอดอนตูม นางสาวอมรพรรณ สกุลงาม ปราชญ์อำเภอพุทธมณฑล  นายกมลพรรธน์ บ่อแก้ว ผู้ประกอบการ อำเภอเมืองนครปฐม นางสาวพิกุล บุญวรรณ์  ผู้ประกอบการอำเภอสามพราน (กลุ่มผ้ามัดย้อมกระทุ่มล้ม) นายอภิชัย ทองบ้านกวย ผู้ประกอบการอำเภอนครชัยศรี (ผอบเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ) พร้อมด้วยพัฒนาการอำเภอทั้ง 7 อำเภอ  ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและงานศิลปะ ผู้แทนหอการค้าจังหวัดนครปฐม ผู้ประกอบการทั้ง 7 อำเภอ  ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ YEC เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชน เข้าร่วมขับเคลื่อนงานและระดมความคิดการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้

 

    ด้วยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เล็งเห็นถึงความสำคัญของทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างคุณค่าทางสังคมและมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ จึงได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยศิลปากร ดำเนินโครงการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยเพื่อต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปในแต่ละจังหวัดได้มีความรู้ ความเข้าใจในแนวคิดการต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม ทั้งยังสามารถนำเอาองค์ความรู้ทางด้านศิลปะร่วมสมัยมาใช้สร้างสรรค์ผลงานการออกแบบที่แสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น เกิดเป็นประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืน ซึ่งตลอดการดำเนินงาน ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 –  2565 ได้ค้นหา    อัตลักษณ์เพื่อนำมาต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมไปแล้วทั้งหมด 18 จังหวัด ได้ชุดผลงานการออกแบบ 199 ชุดผลงาน     จาก 199 อำเภอ และในปีนี้ (พ.ศ.2566) สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยได้ดำเนินโครงการฯ อย่างต่อเนื่องในอีก 3 จังหวัด ได้แก่ นครนายก ลพบุรี และนครปฐม เพื่อขับเคลื่อนการทำงานด้านศิลปะร่วมสมัยให้ครอบคลุมในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้มีความเข้าใจในการนำทุนทางวัฒนธรรมไปปรับใช้อย่างสร้างสรรค์          สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศอย่างยั่งยืน 

 

             ในการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการออกแบบที่แสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่นในโครงการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยเพื่อต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้ระดมความคิดเห็นร่วมกับหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และประชาชนทุกภาคส่วนในจังหวัดนครปฐม ให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์การวิจัย โดยเป็นการนำเสนอผลการศึกษา วิเคราะห์และวิจัยเบื้องต้นในที่ประชุม นำไปสู่กระบวนการออกแบบภาพลักษณ์ที่โดดเด่นให้แก่จังหวัดนครปฐม และเพื่อให้เป็นแนวทางการใช้อัตลักษณ์ในการพัฒนาจังหวัดนครปฐมและผู้เข้าร่วมการอบรม อันเป็นการสร้างแนวทางอัตลักษณ์ส่งเสริมรายได้ให้แก่ชุมชนและส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับชุมชนท้องถิ่นได้มีความเข้าใจในกระบวนการหาอัตลักษณ์ที่แท้จริงของตนเอง และเพื่อพัฒนาต่อยอดในการพัฒนาจังหวัดนครปฐม อำเภอและชุมชนต่อไปในอนาคตอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องตามนโยบายของรัฐบาลในการมีส่วนร่วมบูรณาการภาครัฐและภาคเอกชนต่อไป  

 

          ในการนี้ จังหวัดนครปฐม โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม กระทรวงวัฒนธรรม ได้ดำเนินการประสานงานหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ทั้ง 7 อำเภอในจังหวัดนครปฐม เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้ โดยมีผู้เข้าร่วมการอบรมจำนวนทั้งสิ้น 81 คน

 

ชนิดา  พรหมผลิน /นครปฐม

Loading