วันเสาร์, 14 กันยายน 2567

อบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (Cultural Product of Thailand : CPOT) บนแพลตฟอร์มออนไลน์

            อบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (Cultural Product of Thailand : CPOT) บนแพลตฟอร์มออนไลน์

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566  เวลา 09.30 น.  ที่ห้องประชุมชั้น 8 อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรม     สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม มอบหมายให้นักวิชการวัฒนธรรม และส่งผู้ประกอบการฯ เข้าร่วมการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (Cultural Product of Thailand : CPOT) บนแพลตฟอร์มออนไลน์

โดยมีนางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมฯ  นางอลงกรณ์ จารุธีรนาท ผู้อำนวยการ  กองเศรษฐกิจวัฒนธรรม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ความเป็นมาของโครงการฯ  พร้อมด้วย ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม นักวิชาการวัฒนธรรม ผู้ประกอบกาในจังหวัดกรุงเทพฯ และ 5 จังหวัดปริมณฑล เข้าร่วมในพิธีเปิด และเข้ารับการอบรม ในการนี้นายธีรพล คูรัตน์ นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ เป็นผู้ประสานงานและดำเนินการในโครงการดังกล่าว

ตามที่รัฐบาลมีนโยบายขับเคลื่อนประเทศไทย ด้วยการใช้ “เศรษฐกิจดิจิทัล” ที่ส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าและบริการ       ในช่องทางออนไลน์  ประกอบกับในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องเผชิญกับ  สถาการณ์วิกฤตโควิด 19 ทำให้ชุมชน ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่เคยออกงานแสดงและจำหน่ายสินค้าตามสถานที่ต่างๆ ไม่สามารถจำหน่ายสินค้า            ได้ทำให้ขาดรายได้ สินค้าค้างสต๊อก ไม่มีเงินทุนหมุนเวียน มีบางรายต้องเลิกผลิตสินค้าไปในที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่ง

กระทรวงวัฒนธรรม โดยกองเศรษฐกิจวัฒนธรรม เล็งเห็นถึงปัญหาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันเห็นถึงโอกาสที่จะได้พัฒนาต่อยอดทางธุรกิจในช่องทางอื่นๆ ได้ จึงได้กำหนดจัด “โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย(Cultural Product of Thailand : CPOT) บนแพลตฟอร์มออนไลน์” โดย มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับชุมชน ผู้ประกอบการ ในการเข้าสู่การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไทยในตลาดออนไลน์

2. เพื่อให้ชุมชน ผู้ประกอบการ เพิ่มช่องทางทางการตลาดสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น นำไปสู่การสร้างความเข้มแข็ง          สู่ท้องถิ่น

3. เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนเกิดจิตสำนึก หวงแหนในมรดกทางศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น และร่วมกันอนุรักษ์ สืบสาน ต่อยอดงานศิลปวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่สืบไป

4. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ

โดยการอบรมได้ครั้งนี้ได้เชิญวิทยากรจากบริษัท ลาซาด้าจำกัด (ประเทศไทย) ผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการตลาดบนแพลตฟอร์มออนไลน์ มาให้ความรู้และประสบการณ์ โดยแบ่งเป็น 2ช่วง ช่วงเช้า เป็นการบรรยายในหัวข้อ พฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์  และช่วงบ่าย เป็นกิจกรรม Workshop หัวข้อ เทคนิคการสร้างธุรกิจ         และสร้างยอดขายผ่านรูปแบบ e – Commerce ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมการอบรม ได้แก่ ชุมชน ผู้ประกอบ และนักวิชาการวัฒนธรรม จากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ดังนี้

ส่วนกลาง ประกอบด้วย ชุมชน ผู้ประกอบการ จากกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 22 คน นักวิชาการวัฒนธรรม จำนวน 15 คน

ส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย ชุมชน ผู้ประกอบการ จาก ๗๑ จังหวัด จำนวน 142 คน นักวิชาการวัฒนธรรม จำนวน 71 คน

รวมมีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น จำนวน 250 คน

การอบรมฯจัดขึ้นในวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ส่วนกลาง อบรม ณ ศูนย์ประชุม อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ และ ส่วนภูมิภาค อบรมผ่านระบบประชุมทางไกล (Zoom)  

ในการนี้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม ได้มอบหมายให้นักวิชาการวัฒนธรรมเข้ารับการอบรมจำนวน 1 คน ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เรือไม้สักจำลองสำเภาพาณิชย์ และผู้ประกอบการน้ำมันสกัดเย็นจากเมล็ดพืช โดยได้ลงโปรแกรมแพลตฟอร์มซื้อ – ขาย ออนไลน์ บริษัทลาซาด้า จำกัด (ประเทศไทย) เสร็จสิ้นในวันที่เข้ารับการอบรม และได้รับความรู้และเทคนิคในการจำหน่ายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ผู้ประกอบการทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์นี้พร้อมเปิดการจำหน่ายในรูปแบบ E – Commerce ซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่องทางการจำหน่ายในนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในการใช้เทคโนโลยีส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าและบริการในช่องทางออนไลน์ ทำให้ผู้ประกอบการในชุมชนเกิดความมั่นคงในอาชีพและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนต่อไป

 

ชนิดา พรหมผลิน /นครปฐม

Loading