วันจันทร์, 20 พฤษภาคม 2567

ไผ่-เพชรบุรี!!นำเกร็ดความรู้เกี่ยวกับพระชัยรัชกาลฯและพระชัยวัฒน์มาให้ศึกษากัน”

สวัสดีครับวันนี้ ไผ่ เพชรบุรีได้นำเกล็ดความรู้พอสังเขปเกี่ยวกับพระชัยรัชกาลฯและพระชัยวัฒน์ มาให้ศึกษากัน

พุทธลักษณะพอสังเขป
เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิวางพระกรด้านหนึ่งในลักษณะคว่ำพระกรไว้บนพระเพลาใกล้พระชานุส่วนพระกรอีกด้านหนึ่งนั้นยกขึ้นเหนือพระเพลาโดยอยู่กึ่งกลางลำพระองค์มีลักษณะกำพระกรตามที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่ากำมือหรือถือตารปัตร(ท่านที่ไม่เคยพบเห็นพระพุทธลักษณะนี้ก็ขอใหดูภาพพระชัยฯหลังช้างก็แล้วกัน)เท่าที่มีข้อมูลอยู่มักนิยมจักสร้างด้วยการมีพระราชพิธีหล่อเพื่อเป็นพระประจำองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯมีมาแต่ครั้งอดีตคือตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแล้วต่อเรื่อยๆมาจวบจนยุครัตนโกสินทร์ในปัจจุบันนี้ เพื่อเป็นสิริมงคลและประกอบร่วมในพระราชพิธีสำคัญตามโบราญราชประเพณีสืบมา

ส่วนพระองค์เล็กๆเรียกกันว่าพระชัยวัฒน์ตามที่นักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชานั้น นิยมหล่อขึ้นโดยมีเจตนาให้เป็นขนาดที่สามารถนำติดตัวได้สะดวก แต่ก็นับได้ว่ามีน้อยเนื่องจากการจัดสร้างแต่ละครั้งนั้นมีจำนวนไม่มาก(โดยพุทธศิลป์ในการหล่อมีศิลปะแบบช่างจีนโบราณ และเมื่อหล่อเสร็จแล้วจะมีการขุดแต่งทั้งองค์เพื่อให้งดงามยิ่งขึ้น)

ตามประวัติที่พอสืบหาได้นั้นในรัชสมัยของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ก็ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้จัดสร้างโดยการหล่อพระชัยวัฒน์ลักษณะนี้ขึ้น.เพื่อพระราชทานให้พระราชวงศ์ชั้นสูง อาทิพระราชโอรสและพระราชธิดาได้นำติดองค์ไปยัต่างประเทศ(เช่นการไปศึกษาต่อ)มีชื่อเรียกว่าพระชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์จัดสร้างไม่เกินหนึ่งร้ององค์


ตามภาพที่ให้ชมนี้จัดเป็นพระชัยวัฒน์ที่เป็นพระเครื่องกลุ่มเดียวกันกับพระชัยรัชกาลฯ. คนทั่วไปเรียกพระชัยกำมือ หล่อด้วยเนื้อทองคำ นาค และเงิน (ภาพที่นำมาประกอบในที่นี้เราหามาได้เฉพาะเนื้อเงินและทองคำเท่านั้น)
นับว่าเป็นพระพุทธปฎิมากรรมอันทรงคุณค่าแก่การสะสมครอบครองเพื่อได้ระลึกถึงคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรมศาสดาเอกของโลกฯ

บทความโดย ไผ่ เพชรบุรี
ยินดีให้คำปรึกษาพระเครื่องโทร.065-836-8325

Loading