วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

ประเพณีตักบาตรดอกไม้ ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ชาวมอญบ้านวังกะ”

กาญจนบุรี ประเพณีตักบาตรดอกไม้ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ชาวมอญบ้านวังกะ

 

วันนี้ 22 ก.ค. 2563 ผู้สื่อชาวรายงานว่า ชาวไทยเชื้อสายมอญ บ้านวังกะ จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมตักบาตรดอกไม้เนื่องในช่วงเข้าพรรษาที่อุโบสถ์วัดวังก์วิเวการาม ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี เพื่อสืบสานประเพณีการถวายดอกไม้ธูปเทียน ให้แก่พระสงฆ์ ที่จำพรรษา ตามวัดต่างๆในพื้นที่ อ.สังขละบุรี เพื่อให้พระสงฆ์ ได้นำไปไหว้พระขณะเข้าร่วมการสวดมนต์ ในอุโบสถ์ ของวัวังก์วิเวการาม ซึ่งจะจัดขึ้นเฉพาะในวันพระใหญ่ ขึ้น 15 ค่ำและ แรม 15 ค่ำ เท่านั้น โดยประเพณีสืบทอดกันมาช้านาน โดยชาวบ้านได้นำดอกไม้ มาร้อยเป็นพวงมาลัยพร้อมธูปเทียน รอพระสงฆ์ ที่จะเดินเข้าไปสวดมนต์ในโบสถ์

ซึ่งดอกไม้ที่ใช้ตักบาตร ส่วนใหญ่จะเป็นดอกเข้าพรรษาซึ่งเป็นดอกไม้พื้นเมือง ดอกกล้วยไม้ ดอกกุหลาบและดอกที่หาได้ตามบ้านทั้วไป พร้อมธูปเทียนใส่ถาด เตรียมตัวตักบาตร พอถึงเวลา พระภิกษุจะเดินลงมาจากบันไดอีกด้าน โดยมีอุบาสกเดินนำหน้า พระภิกษุจะถือเปลผ้าจีวรกันเป็นคู่ ๆ เดินเรียงแถวผ่านชาวบ้านที่รอตักบาตร เมื่อพระภิกษุเดินผ่านต่างจะนำดอกไม้ธูปเทียนถวายลงในเปลผ้า พอเต็มเปลจนพระภิกษุหามกันไม่ไหวก็จะมีลูกศิษย์วัดคอยมาถ่ายดอกไม้ออกไป เพื่อให้ญาติโยมได้ใส่ต่อ

ขณะที่ให้เด็กชายและผู้ชาย ชาวมอญ ต่างมานอนให้พระเหยียบ เนื่องจากมีเชื่อกันว่า หากเด็กคนไหนเลี้ยงยากป่วยบ่อยๆ หรือผู้ใดที่เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ถ้าได้มานอนให้พระสงฆ์เดินเหยียบ ก่อนจะข้ามไปเข้าโบสถ์ เขาเหล่านั้น จะโชคดีเลี้ยงง่าย และหายจากอาการที่เจ็บป่วยได้

นาย อานุภาพ ปุณณะการี กรรมการวัดวังก์วิเวการาม เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า พิธีตักบาตรดอกไม้ เป็นการสืบทอดประเพณีของชาวมอญมาแต่ในอดีต ช่วงเข้าพรรษา 3 เดือน เมื่อถึงวันพระใหญ่ ขึ้น 15 ค่ำ และ แรม 15 ค่ำ พระสงฆ์ที่จำพรรษา ตามวัดต่างๆในพื้นที่ อ.สังขละบุรี จะต้องเข้าไปสวดปาฏิโมกข์ในอุโบสถ์ แต่พระสงฆ์ไม่สะดวกในการจัดเตรียมดอกไม้ธูปเทียน เพื่อไปสักการะบูชาในโบสถ์ได้ดังนั้น ชาวบ้านในสมัยนั้น ที่ไปถือศีลอยู่ในวัด จึงได้มีการปรึกษากันว่า จะช่วยจัดหาสิ่งของเหล่านี้ ถวายให้กับพระสงฆ์ ก่อนจะเข้าไปในอุโบสถ์ และได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่เมื่อครั้งพระราชอุดมมงคล ( หลวงพ่ออุตตมะ ) อดีตเจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม ยังมีชีวิตอยู่และปฎิบัติสืบทอดต่อกันมา จนถึงปัจจุบัน”””เสียง

ประเพณีตักบาตรดอกไม้ของชาวมอญ จัดเป็นเทศกาลที่สำคัญ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธประวัติอันเป็นการบูชาต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวคือเมื่อครั้งที่พระพุทธองค์เสด็จขึ้นไปโปรดพุทธมารดาบนเทวโลกนั้น พระองค์ได้เสด็จประทับอยู่บนเทวโลกเพื่อโปรดพุทธมารดาตลอดพรรษานั้น บรรดาอาณาประชาราษฎร์ทั้งหลายต่างคิดคำนึงถึงพระบรมศาสดา และต่างรอคอยการเสด็จกลับของพระพุทธองค์อยู่ตลอดเวลา

ครั้นถึงวันเสด็จกลับพระพุทธองค์ชาวเมืองได้ทราบข่าวต่างดีอกดีใจ เตรียมการต้อนรับการเสด็จกลับของพระพุทธองค์อย่างมโหฬาร ยิ่งเมื่อพระพุทธองค์ได้เสด็จกลับมนุษย์โลกที่เมืองสังกัสสะเหล่าเทพยดาทั้งหลายได้เนรมิตบันไดทอง บันไดเงิน และบันไดแก้ว ถวายแด่พระองค์ ส่วนชาวเมืองสังกัสสะตั้ง แต่พระราชาตลอดจนประชาราษฎร์ทั้งหลาย รวมตลอดถึงท้าวพระยามหากษัตริย์และราษฎรจากนครอื่น ต่างมาร่วมเฝ้ารับเสด็จอย่างล้นหลาม พร้อมจัดเตรียมบุปผามาลาเครื่องสักการะต่างๆ เพื่อเป็นพุทธบูชา

ครั้นถึงเวลาเสด็จพระพุทธองค์ทรงเสด็จดำเนินทางบันได้แก้ว บรรดาเทพยดาต่างถวายสักการะองค์พระพรหมและสักกะเทวธาร นำฉัตรเครื่องสูงบังสูรย์กางกั้นองค์พระบรมศาสดา เทพยดาทั้งหลายต่างประโคมดนตรีโปรยดอกไม้และตามเสด็จพระพุทธองค์เพื่อถวายการส่งเสด็จกลับมนุษย์โลก

เมื่อพระองค์เสด็จถึงมนุษย์โลกที่เมืองสังกัสสะนั้น เหล่าบรรดามหากษัตริย์และอาณาประชาราษฎร์ต่างปลื้มปิติโสมนัส ทำการบูชาพระบรมศาสดาด้วยดอกไม้ ของหอมต่างๆ อย่างมากมาย ชาวมอญได้นำเอาพุทธประวัติตอนดังกล่าวนี้มาจัดเป็นพิธีตักบาตรดอกไม้

ปรีชา ไหลวารินทร์ / กาญจนบุรี

Loading