วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

นครปฐม-โครงการ วิถีไทย วิถีพอเพียง ชุมชนอยู่ดีมีสุข ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

นครปฐม โครงการ วิถีไทย วิถีพอเพียง ชุมชนอยู่ดีมีสุข ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เมื่อวันที่ 16 พค 2561 นางสาวชนิดา พรหมผลิน นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ และผู้ประสานงาน อ.ดอนตูม พร้อม นางสาวอรพร คัมภีรศาสตร์ ผู้อำนวยการยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม สืบเนื่องจากรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อน การพัฒนาประเทศ ตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ การปฏิรูป เพื่อการพัฒนาไปสู่ประเทศไทย 4.0

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการนำแนวคิดตามโครงการไทยนิยมยั่งยืน มาผสมผสานกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและค่านิยม 12 ประการ ชุมชนอยู่ดีมีสุข การพัฒนาความเป็นอยู่อาชีพ รายได้ การนำวิถีไทย วิถีพอเพียง มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และเป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชนได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติทำนุทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับอาหารมาสร้างสรรค์ อนุรักษ์ประเพณีวิถีชีวิตการอยู่ การกิน และเอกลักษณ์พื้นถิ่นไว้ พร้อมทั้งต่อยอดขยายกิจการ สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ มาหล่อเลี้ยงชีวิตอย่างยั่งยืน

จากนั้นพระครูวิชัยธรรมมานุกูล เจ้าอาวาสวัดสระสี่เหลี่ยม นายชลอ วันดี กำนันตำบลดอนรวก ประธานสภาวัฒนธรรม ตำบลดอนรวกและนายประกิจ ผุยรอด รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนรวก ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต.ชาวบ้าน กลุ่มผู้สูงอายุ และนักเรียนโรงเรียนวัดสระสี่เหลี่ยม กว่า 80 คน ที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมา และประเพณีวัฒนธรรม อาหารพื้นถิ่น เป็นอย่างดี เพื่อส่งเสริมในการอนุรักษ์ สืบทอดให้กับเด็กๆ เยาวชนและประชาชนในพื้นที่ เข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณีได้ร่วมการทำและสอนให้เด็กนักเรียนฝึกในการทำธงสงกรานต์ หรือการแห่ธงสงกรานต์ ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาหลายช่วงอายุคน ในการประดิษฐ์การทำธงสงกรานต์อนุรักษ์ไว้ไม่ให้เลือนหายไป ส่งต่อให้คนรุ่นต่อไปได้สืบทอด และการทำอาหารพื้นถิ่นที่ผ่านเวลามายาวนานนับร้อยปี ขนมจีน เป็นการสร้างรายได้ สร้างงาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน ทำให้มีอาชีพ สร้างรายได้ สามารถหล่อเลี้ยงตนเองและครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งเริ่มจากการหมักแป้งต้มแป้ง ตำแป้ง และนวดแป้ง จนมาถึงบีบเส้นขนมจีน เป็นต้น และการทำข้าวหลาม ถึงวิถีการทำแต่ละขั้นตอน การเตรียมอุปกรณ์ ข้าวเหนียว ไม้ไผ่ป่า ใบตองแห้ง กระทิ จนมาถึงการเผาข้าวหลาม ซึ่งเป็นวัฒนธรรม

ประเพณี อันดีงามของลาวคลั่ง ที่สืบทอดกันมานับร้อยปีในพื้นที่ตำบลดอนรวก อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม กลุ่มชาติพันธุ์ลาวคลั่งมีวิถีชีวิตเป็นอยู่ที่เรียบง่าย และสงบสุข มีเสน่ห์อันเป็นอัตลักษณ์ของตนเอง โดยอยู่บนพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันด้วยความรักสามัคคีเป็นต้นอีกด้วย

 

ปนิทัศน์ มามีสุข นส.ปณิดา มามีสุข จ.นครปฐม

Loading